Abstract:
ศึกษาการทำลายไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยซีโรไทป์โอ เอและเอเชียวัน ณ อุณหภูมิ 50, 60, 70, 80, 90, และ 100 องศาเซลเซียส ในสารละลาย PBS ได้เส้นโค้งการทำลายไวรัส (inactivation curve) 3 แบบ คือ แบบเส้นตรง (linear) แบบหัวไหล่ (shoulder) และแบบท้ายลาด (tailing) คำนวณหาประสิทธิภาพการทำลายไวรัสจากเส้นโค้งการทำลายไวรัสแบบเส้นตรงด้วยสมการเชิงเส้นแบบถดถอย (linear regression) เป็นค่า D สำหรับรูปแบบการทำลายไวรัสแบบหัวไหล่ถ้าไม่พบความแตกต่างของค่า D กับค่า lag time (t[subscript L]) ถือว่าไม่มี shoulder effect ส่วนรูปแบบการทำลายไวรัสแบบท้ายลาดจะคำนวณค่า D ตามสัดส่วนการทำลายไวรัสทั้ง 2 ระยะมารวมกัน พิสัยของ D[subscript 50], D[subscript 60], D[subscript 70], D[subscript 80], D[subscript 90] and D[subscript 100] ของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย 6 เสตรน คือ 732-2414, 16.37-42.00, 6.06+10.87, 2.84-5.99, 1.65-3.18, และ 1.90-294 วินาที ตามลำดับ พิสัยของค่าZ ของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยซีโรไทป์โอ และซีโรไทป์เอ คือ 21.78-23.26 และ 19.11-22.79 องศาเซลเซียส ตามลำดับ และค่า Z ของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยซีโรไทป์เอเชียวัน คือ 18.50 องศาเซลเซียส ค่า Z ของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยทุกเสตรนที่ทำการศึกษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความทนต่อความร้อนของไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยทุกเสตรนที่ทำการศึกษาครั้งนี้ไม่แตกต่างกันแต่มีความทนต่อความร้อนน้อยกว่าไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยเสตรนที่มีการระบาดในต่างประเทศ