DSpace Repository

ปัญหากฎหมายตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 : ศึกษากรณีการก่อตั้งทรัสต์โดยมีเจตนาหลบเลี่ยงการชำระหนี้

Show simple item record

dc.contributor.advisor ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์
dc.contributor.author ภุชงค์ ธีรนันทราพร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-06-12T10:35:21Z
dc.date.available 2019-06-12T10:35:21Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62099
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en_US
dc.description.abstract ลูกหนี้อาจใช้ทรัสต์ตาม พ.ร.บ. ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 เป็นเครื่องมือในการหลบเลี่ยงการชำระหนี้ เนื่องจากลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์จะต้องนำทรัพย์ไปฝากให้ทรัสตีช่วยจัดการดูแลเพื่อมอบให้แก่ผู้รับประโยชน์ โดยทรัพย์ที่ไปฝากนั้นจะต้องถูกโอนกรรมสิทธิ์ไปให้แก่ทรัสตี แต่ลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งทรัสต์ด้วยก็ยังสามารถเข้ารับประโยชน์ และเจ้าหนี้ของผู้ก่อตั้งทรัสต์ไม่สามารถเข้าบังคับชำระหนี้จากทรัพย์นั้น ได้ในช่วงระยะเวลาที่ทรัพย์อยู่ในกองทรัสต์ เพราะทรัพย์นั้นมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของของลูกหนี้ จึงเป็นช่องทางทำให้ลูกหนี้ทำการฉ้อฉลเจ้าหนี้ได้ แม้ว่าตามหลักการของ พ.ร.บ. ทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน จะกำหนดให้ผู้ก่อตั้งทรัสต์จะต้องเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลัก ทรัพย์ และทรัสตีก็ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการก่อนก็ตาม แต่ก็มิได้เป็นการยืนยันว่าจะไม่เกิดกรณีดังกล่าว เมื่อพิจารณาสัญญาก่อตั้งทรัสต์ตามองค์ประกอบของสัญญา พบว่าการใช้ทรัสต์เพื่อหลบเลี่ยงการชำระหนี้มีความบกพร่อง 2 ประการ คือ วัตถุประสงค์ของสัญญาที่ต้องห้ามตามกฎหมายโดยชัดเจน และเจตนาภายในของสัญญาไม่ตรงกับเจตนาที่แสดงออก รวมถึงการแสดงเจนนาโดยวิปริต แม้กฎหมายไทยจะมีกลไกสำหรับเยียวยาเจ้าหนี้ คือ การกล่าวอ้างความเป็นโมฆะกรรม และ การเพิกถอนการฉ้อฉล แต่กลไกดังกล่าวเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาให้แก่เจ้าหนี้ในสัญญาทั่วไปเท่านั้น จากการศึกษากรณีดังกล่าวในอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น พบว่าแนวทางการแก้ปัญหาของญี่ปุ่นมาความสอดคล้องกับระบบกฎหมายของไทยมากที่สุด โดยเพิ่มเติมหลักการเพิกถอนการฉ้อฉลให้คำนึงถึงความสุจริตของผู้รับประโยชน์ พร้อมกับกำหนดข้อยกเว้นในการพิจารณาความสุจริตของทรัสตี แต่อย่างไรก็ตามการการแก้ไขกฎหมายอาจจะทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้รับประโยชน์ซึ่งสุจริตมากเกินไป ดังนั้นอาจจะใช้วิธีการเพิ่มเติมมาตรการในการคัดกรองการเข้ารับประโยชน์ของผู้ก่อตั้งทรัสต์ขึ้นใช้แทนการแก้ไขกฎหมาย en_US
dc.description.abstractalternative Trust for Transactions in Capital Market Act B.E. 2550, the debtor may use a trust for evasive performance. The debtor who creates the trust will entrust the properties to a trustee to manage and submit to the beneficiary. Since the properties conveyance must be made to the trustee while the debtor is also able to be the beneficiary, the creditor of trust’s settler has no right for the compulsory performance of the debtor’s properties entrusted to the trust because of the properties’ non-ownership of debtor. Therefore, the trust becomes the way for the debtor to trickily defraud the creditor. Although Trust Act indicates that the trust’s settler must be a listed public company on the Stock Exchange and the trustee must be approved by the government section, the fraudulence of debtor can occur. However, when considering the content of trust contract, it found that using the trust for evasive performance comprised 2 defects included the objective of contract expressed manifestly illicit and internal intention differed from expressed intention including the declaration of perverse intention. Although Thai law could provide a remedy for the creditor by claiming the void and cancellation of fraudulent act, it was appropriate for the problems of general contracts only. According to the case study in UK, USA and Japan, it revealed that the resolution approaches of Japan most effectively corresponded to the system of Thai law by adding the principles of the cancellation of fraudulent act with the consideration of the beneficiary’s good faith as well as determining the exceptions for considering the trustee’s good faith. However, the law amendment could affect the honest beneficiary ; therefore, the measure in screening the beneficiary of trust’s settlor should be created instead. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.341
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การชำระหนี้ en_US
dc.subject ตลาดทุน en_US
dc.subject บรรษัทเงินทุน -- การชำระหนี้ en_US
dc.subject กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- หนี้ en_US
dc.subject พระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 en_US
dc.subject Performance (Law) en_US
dc.subject Capital market en_US
dc.subject Trust companies -- Performance en_US
dc.subject Trust for Transactions in Capital Market Act, B.E. 2550 en_US
dc.title ปัญหากฎหมายตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน พ.ศ. 2550 : ศึกษากรณีการก่อตั้งทรัสต์โดยมีเจตนาหลบเลี่ยงการชำระหนี้ en_US
dc.title.alternative Legal problems of The Trust for Transactions in Capital Market Act B.E. 2550 : a case study of creation of trust by intention of evasive performance en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Sanunkorn.S@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.341


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record