DSpace Repository

การพัฒนาการเลี้ยงกบในประเทศไทย 2531 : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ผุสตี ปริยานนท์
dc.contributor.author สุดสนอง ผาตินาวิน
dc.contributor.author กัมพล อิศรางกูร ณ อยุธยา
dc.contributor.author นงเยาว์ จันทร์ผ่อง
dc.contributor.author ธีรวรรณ นุตประพันธ์
dc.contributor.author วิโรจน์ ดาวฤกษ์
dc.contributor.author พนวสันต์ เอี่ยมจันทน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2008-03-11T07:46:45Z
dc.date.available 2008-03-11T07:46:45Z
dc.date.issued 2532
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6222
dc.description.abstract กบนา (Rana tigerina) เป็นสัตว์เลือดเย็นประเภทครึ่งบกครึ่งน้ำ ดังนั้นสภาพแวดล้อมทางกายภาพจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ จากการศึกษาลักษณะของสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น และคุณสมบัติทางเคมีของน้ำในบริเวณฟาร์มเลี้ยงกบ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ปรากฎว่า อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยสูงสุดในรอบปีเท่ากับ 30.9 +- 9.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิอากาศเฉลี่ยต่ำสุดในรอบปีเท่ากับ 25.5+- 9.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิน้ำสูงสุดในรอบปีเท่ากับ 29.6 +- 5.7 องศาเซลเซียส เฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 25.4 +- 3.8 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศอยู่ระหว่าง 65.0+-79% และ 76.6 +- 10.8 % ความเป็นกรดด่างของน้ำในบ่อเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่มีน้ำขังตลอดปีมีค่าเฉลี่ยระหว่าง 7.1 +- 2.7 และ 8.27 +- 0.42 มีปริมาณออกซิเยนละลายในน้ำอยู่ระหว่าง 7.4 +- 2.7 และ 11.2 +- 2.5 ซึ่งลักษณะของสภาพแวดล้อมที่มีคุณสมบัติดังกล่าวนี้จัดว่าเป็นลักษณะของสภาพแวดล้อมที่สามารถทำฟาร์มเลี้ยงกบให้เจริญเติบโตได้เกือบตลอดปี การนำลูกกบนาอายุ 1 เดือนจากแหล่งธรรมชาติมาเลี้ยงในบ่อเลี้ยงกึ่งถาวรเพื่อเป็นพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ โดยให้ปลาเป็ดสดสับเป็นอาหาร ทำการวัดขนาดความยาวลำตัวและชั่งน้ำหนักตัวจนกบโตเต็มวัยอายุครบ 12 เดือน พบว่า เมื่อกบนาอายุครบ 6 เดือนยังไม่ปรากฏลักษณะเพศภายนอกจะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 93.85 +- 6.9 ม.ม. น้ำหนักตัวเฉลี่ย 105.26 +- 26.94 กรัม เมื่อกบนาอายุได้ 9 เดือนสามารถแยกเพศผู้ได้โดยการดู "ถุงลม" (รอยย่นสีดำใต้คาง) จะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 82.22 +- 8.09 ม.ม. มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 179.7 +- 92 กรัมในเพศผู้ และมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 98.55 +- 11.35 ม.ม. น้ำหนักตัวเฉลี่ย 125.62 +- 55.59 กรัมในเพศเมีย เมื่อกบนาอายุ 12 เดือนซึ่งโตเต็มวัยสามารถใช้ผสมพันธุ์ได้ จะมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 91.36 +- 27.06 กรัมในเพศผู้ และมีความยาวลำตัวเฉลี่ย 100.58 +- 9.97 ม.ม. มีน้ำหนักตัวเฉลี่ย 138.71 +- 45.24 กรัมในเพศเมีย จากการเปรียบเทียบผลพบว่า กบนาในช่วงอายุ 1-6 เดือนมีขนาดความยาวและน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงหลังอายุ 6-12 เดือน กบนาที่โตสามารถแยกเพศได้จนผสมพันธุ์ได้ (อายุ 9-12 เดือน) ความยาวลำตัวและน้ำหนักในกบเพศผู้จะน้อยกว่าในกบเพศเมีย เมื่อกบอายุมากขึ้น (9-12 เดือน) อัตราการเพิ่มของน้ำหนักตัวจะมากกว่าอัตราการเพิ่มของความยาวลำตัว ความยาวลำตัวระหว่าง 2 เพศในกบโตเต็มวัย และกบช่วงอายุน้อย (6-9 เดือน) จะแตกต่างกันชัดเจน ในขณะที่น้ำหนักตัวจะแตกต่างกันไม่ชัดเจน การขยายพันธุ์กบนาในบ่อเลี้ยงกบแบบกึ่งถาวรที่มีสภาพพื้นที่เป็นดินทราย โดยกานทำบ่อให้เก็บน้ำได้ตลอดฤดูกาลด้วยใช้ดินเหนียวปูรองพื้นหนา 4-8 นิ้ว น้ำจะขังอยู่ได้ พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่นำมาใช้ผสมพันธุ์มีอายุตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป การกระตุ้นให้กบผสมพันธุ์ทำโดยอาศัยสภาพแวดล้อมจากภายนอกคือ น้ำฝนที่ได้จากฝนตกครั้งแรกในต้นฤดูกาลหรือจากการปรับสภาพแวดล้อมโดยปล่อยน้ำให้ลงขังในบ่อที่ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ฝนที่ตกลงมาใหม่หรือจากการปล่อยลงขังในบ่อจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นให้กบจับคู่ผสมพันธุ์ การศึกษาเปอร์เซ็นต์ของการปฏิสนธิโดยการนับจำนวนลูกอ๊อดที่ได้จากผลการกระตุ้นให้กบผสมพันธุ์เนื่องจากน้ำฝนใหม่มีจำนวนเท่ากับ 478 +- 176.5 ตัว ส่วนลูกอ๊อดที่ได้จากการผสมพันธุ์โดยการปรับสภาพแวดล้อมมีจำนวนเท่ากับ 725.5 +- 164.7 ตัว จากผลการทดลองในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการขยายพันธุ์กบนาตามวิธีธรรมชาติสามารถอาศัยสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำฝนหรือการปล่อยน้ำใหม่ลงขังในบ่อเป็นครั้งแรกในต้นฤดูการสืบพันธุ์ การวิเคราะห์โครโมโซมของพบนา ได้ทำการศึกษาโครโมโซมของการแบ่งเซลล์ทั้งแบบไมโตซิสและไมโอซิส โดยวิธีการย้อยแสดง band ต่างๆ พบว่าจำนวนโครโมโซมของกบนาทั้งตัวผู้และตัวเมียมี 26 แท่ง จัดได้เป็น 13 คู่ คู่ที่ 1, 2, 5, 7, 8, 10, 11, 12 และ 13 เป็นแบบ metacentric ส่วนคู่ที่ 3, 4, 6, 9 เป็นแบบ submetacentric และโครโมโซมคู่ที่ 6 มี secondary constriction ชัดเจนมาก ความแตกต่างของโครโมโซมเพศ พบในโครโมโซมคู่ที่ 8 ของตัวเมีย จากการย้อมสีเพื่อแสดง heterochromatin จะพบอยู่ที่ตำแหน่ง centromers ของทุกแท่ง ส่วนที่บริเวณกลางและปลายแท่งพบได้ในโครโมโซมบางคู่ en
dc.description.sponsorship ทุนงบประมาณแผ่นดิน en
dc.format.extent 5350747 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กบ -- การเลี้ยง -- ไทย en
dc.title การพัฒนาการเลี้ยงกบในประเทศไทย 2531 : รายงานวิจัย en
dc.title.alternative การทำฟาร์มเลี้ยงกบนาแบบครบวงจรในฟาร์มกึ่งถาวร en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Putsateep@yahoo.com
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record