Abstract:
ศึกษาชนิด ลัษณะ ปริมาณ และการกระจายของปลาวัยอ่อนในบริเวณอ่าวระยองตั้งแต่ช่องแสมสารถึงบริเวณตะวันตกของเกาะเสม็ด ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2529 ถึงเดือนเมษายน 2530 รวม 10 เดือน โดยเก็บตัวอย่างเดือนละครั้ง จำนวน 11 สถานี และได้ทำการวัดความเห็น อุณหภูมิ และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำทุกครั้งที่ออกเก็บตัวอยาง ปลาวัยอ่อนที่พบมีทั้งหมด 27 ครอบครัว โดยครอบครัว Gobiidae เป็นปลาวัยอ่อนที่พบเสมอและมีจำนวนมาก รองลงมาได้แก่ปลาวัยอ่อนในครอบครัว Callionymidae, Carangidae และ Engraulidae โดย 2 ครอบครัวหลังจัดเป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาครั้งนี้ได้จำแนกปลาวัยอ่อนทุกครอบครัวที่พบ และบรรยายลักษณะที่พบในแต่ละครอบครัวพร้อมทั้งวาดรูปประกอบไว้ ปลาวัยอ่อนรวมทุกครอบครัวมีปริมาณความหนาแน่นเฉลี่ยสูงสุดในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือโดยในช่วงมรสุมดังกล่าวจะพบปลาวัยอ่อนรวมทุกครอบครัวในบริเวณอ่าวระยอง ปริมาณความหนาแน่นของปลาวัยอ่อนรวมทุกครอบครัวมีค่าต่ำสุดในช่วงเปลี่ยนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนปลาวัยอ่อนครอบครัว Garangidae และ Engraulidae ซึ่งเป็นปลาที่มีสำคัญทางเศรษฐกิจนั้น พบว่าปลาวัยอ่อนครอบครัว Carangidae จะกระจายอยู่บริเวณอ่านระยองตอนนอกทั้ง 2 ช่วงมรสุม แต่พบหนาแน่นมากในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนปลาวัยอ่อนครอบครัว Engraulidae พบหน่าแน่นมากบริเวณอ่าวระยองตอนนอกเฉพาะช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนปัจจัยสภาวะแวดล้อมในแต่ละเดือนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ในแต่ละสถานีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และปริมาณปลาวัยอ่อนที่ทำการสำรวจนั้นไม่แสดงความสัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับปัจจัยสภาะแวดล้อมที่ศึกษา สำหรับปริมาณไข่ปลาที่พบในบริเวณอ่าวระยองมีปริมาณความหนาแน่นเฉลี่ยสูงสุดในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และน้อยที่สุดในช่วงเปลี่ยนมรสุมจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นตะวันตกเฉียงใต้ส่วนใหญ่จะพบกระจายหนาแน่นมากในอ่าวระยองตอนในบริเวณหน้าปากแม่น้ำระยองและชายฝั่งตำบลมาบตาพุดทั้ง 2 ช่วงมรสุม