Abstract:
การใช้ฮอร์โมน HCG, PMSG ร่วมกับ HCG และการใช้ GnRH analogs ชักนำให้เกิดการตกไข่และผสมพันธุ์ในกบนา พบว่าเมื่อใช้ฮอร์โมน HCG 100 IU และ 200 IU ยังไม่สามารถชักนำให้ตัวเมียตกไข่ได้ ส่วนการใช้ฮอร์โมน PMSG 50 IU และ 200 IU ร่วมกับ HCG 100 IU และ 200 IU สามารถชักนำให้ตัวเมียตกไข่และมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ และการฉีด GnRH analogs 2 microgram และ 10 microgram ต่ำน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สามารถชักนำให้ตัวเมียตกไข่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และมีการปฏิสนธิได้ 50 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาการเจริญของลูกอ๊อดกบนาจนถึงขั้นเปลี่ยนแปลง (metamorphosis) เป็นลูกกบเล็กโดยแบ่งออกเป็น 4 ขั้น คือ ระยะลูกอ๊อด ระยะงอกขาหลัง ระยะงอกขาหน้า และระยะลูกกบเล็ก เมื่ออายุ 7, 14, 28 และ 42 วันตามลำดับ พบว่า เมื่ออายุ 7 วัน ลูกอ๊อดทั้งหมดยังไม่งอกขา และมีความยาวลำตัวเฉลี่ยเท่ากับ 10.05 +- 0.70 มิลลิเมตร เมื่ออายุได้ 14 วัน มีการเจริญในระยะที่ไม่งอกขาและงอกขาหลังในอัตรา 62% และ 38%มีความยาวลำตัวเฉลี่ยเท่ากับ 22.00 +- 0.12 มิลลิเมตร และ 28.21 +- 0.98 มิลลิเมตร เมื่ออายุได้ 28 วัน พบการเจริญ 4 ขั้น คือ ระยะลูกอ๊อด ระยะที่งอกขาหลัง ระยะที่งอกขาหน้า และระยะลูกกบเล็ก ในอัตรา 3.2%, 27.8%, 49.8% และ 19.2% มีความยาวลำตัวเฉลี่ยเท่ากับ 16.25 +- 2.06 มิลลิเมตร, 43.00 +- 12.90 มิลลิเมตร, 45.80 +- 4.93 มิลลิเมตร และ 21.39 +- 0.73 มิลลิเมตร และเมื่ออายุได้ 42 วัน พบการเจริญเพียง 3 ขั้น คือ ระยะงอกขาหลัง ระยะงอกขาหน้า และระยะลูกกบ ในอัตรา 10.25%, 14.56% และ 75.24% มีความยาวลำตัวเฉลี่ยเท่ากับ 51.46 +- 4.30 มิลลิเมตร, 40.30 +- 12.9 มิลลิเมตร และ 20.53 +- 3.18 มิลลิเมตร ตามลำดับ การเลี้ยงกบภูเขาในบ่อเลี้ยงที่มีสภาพคล้ายคลึงธรรมชาติ พบว่ากบสามารถอาศัยอยู่ได้ดี มีการสืบพันธุ์ตลอดฤดูกาล (พฤศจิกายน-พฤษภาคม) แต่ยังคงกินอาหารที่เคลื่อนไหว มีการเจริญของเอมบริโอจากไข่กลางเป็นลูกอ๊อดใช้เวลาประมาณ 3 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ 30 C และลูกอ๊อดเจริญเป็นลูกกบเล็กในเวลาประมาณ 45 วัน การศึกษาโครโมโซมของการแบ่งเซลล์ของภูเขา ทั้งแบบไมโตซีสและไมโอซีสด้วยการย้อมสีแสดง band ต่างๆ พบว่า กบภูเขามีโครโมโซมจำนวน 24 แท่ง จัดได้ 12 คู่ คู่ที่ 1, 5, 9 และ 11 เป็นแบบ Metacentric คู่ที่ 2, 3, 4, 6, 7, 8, 10 และ 12 เป็นแบบ Submetancentric มี secondary constricaring อยู่ที่โครโมโซมคู่ที่ 9 Constitutive hterochromatin คือ บริเวณที่ติดสีเข้ม