Abstract:
คุณลักษณะสำคัญที่นิสิตครูพึ่งมีเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพของตนเองคือ ทักษะการวิจัยในชั้นเรียน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและทดลองใช้ชุดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการ วิจัยในชั้นเรียนสำหรับนิสิตครู และนำเสนอหลักการออกแบบชุดการเรียนรู้ที่ปรับใหม่จากผลการวิจัยอิงการออกแบบ การวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักการออกแบบ (design principle) เพื่อเป็นฐานคิดในการ กำหนดข้ออ้างเชิงเหตุผล (argument) ในการออกแบบชุดการเรียนรู้ โดยใช้การศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การทดลองใช้ต้นแบบของชุดการเรียนรู้กับนิสิตครูที่มีบริบทต่างกัน จำนวน 5 กลุ่ม ในการทดลองจำนวน 3 รอบ ทำการเก็บข้อมูลผ่านการสังเกตเป็นหลักควบคู่กับการทดสอบความรู้และ การประเมินทักษะการวิจัยในชั้นเรียนผ่านชิ้นงาน จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 3 การ นำเสนอหลักการออกแบบที่ปรับใหม่ (new design principle) โดยใช้การถอดบทเรียนจากการนำชุดการเรียนรู้ต้นแบบ ไปทดลองใช้ ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดการเรียนรู้การวิจัยในชั้นเรียนต้นแบบประกอบด้วย 6 โมดูล ได้แก่ 1) บทนำสู่การวิจัยปฏิบัติการในชั้น เรียน 2) สภาพปัญหาและตัวแปร 3) การพัฒนาสู่ปัญหาวิจัย กรอบแนวคิด และการออกแบบการวิจัย 4) การนำ treatment สู่การปฏิบัติ และการเก็บข้อมูล 5) การวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนรายงาน และ 6) การอภิปรายผล การ สะท้อนผล และการปรับ treatmentระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 14 สัปดาห์ หลักการออกแบบชุดการเรียนรู้จะสร้างองค์ ความรูและทักษะการวิจัยในชั้นเรียนควบคู่กับการการสร้างความตระหนัก เจตคติ การรับรู้ความสามารถในตนเอง และ ความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัย 2. ผลการทดลองใช้ชุดการเรียนรู้พบว่า นิสิตคิดว่าการทำวิจัยในชั้นเรียนไม่ใช่เรื่องยาก เห็นประโยชน์ ความสำคัญ ทำการค้นคว้าและการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง และมีความมั่นใจมากขึ้นในการออกแบบ และลง มือทำวิจัย ผลการทดสอบความรู้และการประเมินผลงานของนิสิตพบว่า นิสิตมีความรู้ที่ถูกต้อง รวมถึงผลงานของนิสิตมี ความถูกต้องตามหลักการวิจัยในชั้นเรียน 3. หลักการออกแบบใหม่ที่ถอดบทเรียนได้หลังจากการนำชุดการเรียนรู้ต้นแบบไปทดลองใช้คือ ชุดการ เรียนรู้ต้องสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างนิสิตกับกิจกรรมการวิจัยในชั้นเรียน และต้องมีความต่อเนื่องตั้งแต่ต้นจนจบ กระบวนการ ต้องเน้นการสร้างความเชื่อมโยงหรือรอยต่อทางองค์ความรู้แต่ละเนื้อหาให้นิสิต อีกทั้งชุดการเรียนรู้ต้องมี สื่อหรือเอกสารต่าง ๆ จัดเตรียมไว้ให้ผู้ที่จะทำวิจัยเลือกใช้ และสามารถแลกเปลี่ยนสะท้อนข้อดี ข้อปรับปรุงของ กิจกรรมต่าง ๆ ได้