Abstract:
Lactobacillus spp. จำนวน 4 สายพันธุ์ได้แก่ L.acidophilus TISTR 1338, L. bulgaricus TISTR 1339, L. casei subsp. Tolerans TISTR 1341 และ L. jensenii TISTR 1342 เก็บในสภาพผงแห้งผ่านการทำแห้งแบบเยือกแข็งหลังเก็บไว้เป็นปี 12 เดือนที่ -20 ซ พบว่าทุกสายพันธุ์มีการรอดชีวิตสูงกว่าร้อยละ 97 เมื่อนำทั้ง 4 สายพันธุ์ผสมในอัตราส่วนเท่ากัน คือ 1:1:1:1 ผสมในอาหารไก่และน้ำดื่มในอัตราส่วน 1:100 (น้ำหนัก/น้ำหนัก และ น้ำหนัก/ปริมาตร) ด้วยความในอาหารไก่และน้ำดื่มในอัตราส่วน 1:1000 (น้ำหนัก/น้ำหนัก และ น้ำหนัก/ปริมาตร) ด้วยความเข้มข้น 10[superscript 6] CFU/g และ CFU/ml พบว่าการรอดชีวิตของ Lactobacillus spp. ผงแห้งแบบผสมในน้ำดื่มมีค่าสูงกว่าในอาหารไก่ เมื่อนำมาผสมเพื่อเลี้ยงไก่กระทงเปรียบเทียบระหว่างการให้ในอาหารและการให้ในน้ำดื่มทุก 3 วัน ในปริมาณ 10[superscript 6] CFU/g และ CFU/ml ตามลำดับ พบว่าไก่กลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกในน้ำดื่มมีน้ำหนักเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือไก่กลุ่มที่ได้รับสารปฏิชีวนะและเสริมโพรไบโอติกในอาหาร ทั้ง 2 กลุ่มมีน้ำหนักเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มควบคุมได้รับสารปฏิชีวนะในอาหาร ทดสอบผลต้านทางการติดเชื้อ S. Typhimurium ในไก่กระทง ไก่กลุ่มที่ได้รับโพรไบโอติกเสริมในน้ำดื่มสามารถลดการติดเชื้อ S. Typhimurium ในลำไส้ได้ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อ S. Typhimurium สูงกว่าไก่กลุ่มควบคุมได้รับสารปฏิชีวนะ ทำการทสอบซ้ำในไก่พันธุ์พื้นบ้านไทย ให้ Lactobacillus spp. ผงแห้งแบบผสมในปริมาณและความเข้มข้นเท่าเดิม เมื่อไก่อายุ 10 วัน ให้ S. Typhimurium ขนาด 10[superscript 8] CFU/ml พบว่าไก่กลุ่มได้รับสารปฏิชีวนะและโพรไบโอติกเสริมในอาหารสามารถลดการติดเชื้อ S. Typhimurium ในลำไส้และลดปริมาณ S. Typhimurium ในมูลไก่ได้ดีที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มได้รับอาหารผสมสารปฏิชีวนะและเสริมโพรไบโอติกในน้ำดื่ม ทั้ง 2 กลุ่มมีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อ S. Typhimurium สูงกว่าไก่กลุ่มควบคุมได้รับสารปฏิชีวนะจากอาหารซึ่งสอดคล้องกับผลของน้ำหนักเฉลี่ย เมื่อครบการเลี้ยงทั้ง 30 วันทั้ง 2 กลุ่มมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม