DSpace Repository

โครงการวิจัย เรื่อง ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน ด้านรายได้ของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา (ปีที่ 2)

Show simple item record

dc.contributor.author อเนกพล เกื้อมา
dc.contributor.author อุ่นเรือน เล็กน้อย
dc.contributor.author พิชญา สุรพลชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยสังคม
dc.coverage.spatial ปัตตานี
dc.coverage.spatial ยะลา
dc.coverage.spatial นราธิวาส
dc.coverage.spatial สตูล
dc.coverage.spatial สงขลา
dc.date.accessioned 2019-09-13T10:08:06Z
dc.date.available 2019-09-13T10:08:06Z
dc.date.issued 2556
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62953
dc.description.abstract โครงการวิจัยเรื่อง ความยากจนและความไม่เท่าเทียมด้านรายได้ของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ : นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา และสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดของปัญหาความยากจนและการกระจายรายได้ของประชาชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีขอบเขตการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับภาวะความยากจน และการกระจายรายได้โดยอาศัยข้อมูลทางสถิติ และข้อมูลเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่ากลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนมีขนาดความยากจนในระดับสูง โดยพบว่าเส้นความยากจนของจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสตูล อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนของภูมิภาคและทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้จำนวนคนจนรวมใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ยังมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 14 ของคนจนทั่วราชอาณาจักร และมากกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนคนจนทั้งหมดในภาคใต้ โดยจังหวัดนราธิวาส และ ปัตตานี เป็นสองจังหวัดที่มีสัดส่วนคนจนมากที่สุด และมีระดับรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ยต่อเดือนตํ่าที่สุด ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังปี 2550 นราธิวาสและปัตตานี เริ่มมีช่องว่างทางรายได้ที่ กว้างขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นในกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ ในขณะที่ความไม่เทียมทางด้านรายได้ในระดับจังหวัดของกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ในปี 2550 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จากปีก่อน แต่หลังจากปี 2550 กลับพบว่านราธิวาส และยะลามีแนวโน้มการกระจาย รายได้ที่ดีขึ้น แต่จังหวัดปัตตานี สงขลา และสตูล มีแนวโน้มการเติบโตของความไม่เสมอภาคทางรายได้ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สถานการณ์ความยากจนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ อาจได้รับอิทธิพลประกอบจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยพบว่าในปี 2550 เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น มากที่สุด โดยเฉพาะใน พื้นที่นราธิวาสและปัตตานี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ประสบปัญหาทางรายได้และความยากจนมากที่สุด เช่นเดียวกัน แต่ความไม่เสมอภาคทางรายได้ของกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้กลับไม่สามารถอธิบายถึงความ เชื่อมโยงกับการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ได้ แต่ก็อาจเป็นปัจจัยสนับสนุนร่วมกับความเหลื่อมล้ำ ด้านอื่นที่อาจนำมาซึ่งสถานการณ์ความรุนแรงได้เช่นกัน ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสำคัญ กับนโยบายในการลดความเหลื่อมล้ำทั้ง ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคใต้ ชายแดนให้มากยิ่งขึ้น en_US
dc.description.sponsorship งานวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2555 en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ความจน -- ไทย (ภาคใต้) en_US
dc.subject การกระจายรายได้ -- ไทย (ภาคใต้) en_US
dc.title โครงการวิจัย เรื่อง ความยากจนและความไม่เท่าเทียมกัน ด้านรายได้ของประชาชนใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูลและสงขลา (ปีที่ 2) en_US
dc.type Technical Report en_US
dc.email.author Anagpon.K@Chula.ac.th
dc.email.author Unruan.T@Chula.ac.th
dc.email.author Pichaya.S@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record