Abstract:
การวิจัยนี้ได้พยายามแยกโปรตีนส่วนที่ไม่มีพิษออกจากพิษงูเห่าไทย (Naja naja siamensis) โดยใช้วิธีให้ความร้อน 80 เซลเซียส เป็นเวลา 20 นาที ในขณะที่สารละลายพิษงูอยู่ในสภาพเป็นกรดมี pH = 5.8 มีโปรตีนที่ถูกทำลายโดยความร้อนตกตะกอนลงมาเป็นจำนวน 35% ส่วนน้ำใส (supernatant) หรือเรียกว่า heated toxin มีโปรตีนเหลืออยู่ประมาณ 65% และส่วนนี้มีความเป็นพิษสูงกว่าพิษงูเห่าธรรมชาติ คือมีค่า LD[subscript 50] = 0.167 มิลลกรัมต่อหนู 1 กิโลกรัม (พิษงูเห่าธรรมชาติมีค่า LD[subscript 50] = 0.126 มิลลิกรัมต่อหนู 1 กิโลกรัม) แต่มีจำนวน LD[subscript 50] ในพิษงูส่วนนี้ลดลงไป 16.7% อาจเนื่องจากมีการสูญเสียโปรตีนไปในระหว่างขบวนการแยกโปรตีน จำนวน LD[subscript 50] หรือความเป็นพิษที่ได้กลับคืนมา 83.3% แล้วนำโปรตีนส่วนนี้ไปทำให้เป็นโพลิเมอร์ โดยใช้ glutaraldehyde และเปรียบเทียบกับพิษงูธรรมชาติ (unhented toxin) ที่อยู่ในรูปโพลิเมอร์ โดยใช้ glutaraldehyde เช่นเดียวกัน พบว่าโพลิเมอร์ของ heated toxin และ unheated toxin ไม่มีความเป็นพิษ แต่จากการทำ neutralization ในหลอดทดลองพบว่าโพลิเมอร์ของ heated toxin สามารถกระตุ้นให้หนู (Wistar Strain Rat) สร้างแอนติบอดี้ต่อพิษงูได้ และซีรั่มหนู 1 มิลลิลิตรสามารถทำลายพิษงูเห่าได้ 13.42 LD[subscript 50] ส่วนหนูที่ฉีดโพลิเมอร์ของ unheated toxin พบว่าสร้างแอนติบอดี้ได้ระดับต่ำมากจนไม่สามารถคำนวณค่าการทำลายพิษงูได้ และจากการทำ neutra lization ในสัตว์ทดลองพบว่าหนูที่ฉีดด้วยโพลิเมอร์ของ heated toxin ทนพิษงูได้ 8 LD[subscript 50] ส่วนหนูที่ฉีดด้วยโพลิเมอร์ของ unheated toxin ไม่สามารถทนพิษงูจำนวน 3 LD[subscript 50] ได้แต่การตายช้าลง