dc.contributor.advisor |
ถาวร อานุภาพไตรรงค์ |
|
dc.contributor.author |
ชานน จรัสสุทธิกุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี |
|
dc.date.accessioned |
2019-09-14T02:18:41Z |
|
dc.date.available |
2019-09-14T02:18:41Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62969 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
การประเมินค่าความพยายามในการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความคลาดเคลื่อนสูง อาจส่งผลให้ต้นทุนการจัดการโครงการ และเวลาที่ใช้ในการทำโครงการซอฟต์แวร์เพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการทดลองเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความแม่นยำการประเมินค่าความพยายามในการพัฒนาซอฟต์แวร์ระหว่างวิธีประเมินที่ได้รับความนิยม 2 วิธี คือ วิธีตัวแบบขั้นตอนวิธี และวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ สำหรับวิธีตัวแบบขั้นตอนวิธี ในปัจจุบันมีตัวแบบให้เลือกใช้อยู่เป็นจำนวนมาก ผู้วิจัยได้เลือกใช้เฉพาะตัวแบบโคโคโม่ ฟังก์ชันพอยต์ และยูสเคสพอยต์ เนื่องจากเป็นตัวแบบที่ได้รับความนิยมสูงในการใช้งาน และสำหรับวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยได้เชิญผู้ประเมินที่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการซอฟต์แวร์ไม่น้อยกว่า 10 ปี จำนวน 5 คน มาเป็นผู้ประเมิน โดยการทดลองในงานวิจัยนี้จะใช้โครงการซอฟต์แวร์จำนวน 10 โครงการ ซึ่งเป็นโครงการซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนาเสร็จแล้ว แม้ผลการทดลองจะแสดงให้เห็นว่าการประเมินด้วยตัวแบบยูสเคสพอยต์มีความแม่นยำมากกว่าวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ แต่วิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญก็แม่นยำมากกว่าตัวแบบฟังก์ชันพอยต์ และ โคโคโม่ ดังนั้นจึงไม่สามารถสรุปได้ว่าวิธีใดมีความแม่นยำมากกว่ากัน ระหว่างวิธีตัวแบบขั้นตอนวิธี และวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ทำการทดลองเพื่อทดสอบว่าหากผู้เชี่ยวชาญได้เห็นผลลัพธ์จากตัวแบบขั้นตอนวิธี และนำค่าดังกล่าวมาประกอบการประเมินค่าความพยายามในการพัฒนาซอฟต์แวร์ ผู้เชี่ยวชาญจะเปลี่ยนแปลงค่าประเมินหรือไม่และค่าประเมินที่เปลี่ยนแปลงนั้นจะช่วยให้การประเมินแม่นยำขึ้นหรือไม่ ผลการทดลองสรุปได้ว่าผู้เชี่ยวชาญมีการเปลี่ยนแปลงค่าประเมินประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนการทดลองทั้งหมดและการเห็นผลลัพธ์จากการประเมินด้วยวิธีตัวแบบขั้นตอนวิธีไม่ได้ช่วยให้การประเมินด้วยวิธีการตัดสินของผู้เชี่ยวชาญแม่นยำขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ |
|
dc.description.abstractalternative |
Software cost estimation with very high errors may affect and cause the increasing in cost of software management and time spent on a software project. Therefore, the author conducted an experiment in order to study and compare the accuracy of two popular software estimation methods –- algorithmic model and expert judgment method. Since there are many algorithmic models available in the literature, only three algorithmic models were included in this experiment -- COCOMO, Function point, and Use case point, because they are widely used models. In this experiment, 5 experienced experts who have experience in software development more than 10 years were asked to estimate 10 completed software projects. It is found that Use case point method is the most accurate but Function point and COCOMO estimates are less accurate than expert judgment estimates. It is therefore no clear conclusion whether one method is better than the other. In addition, the author also extended the experiment to investigate the effects of displaying the estimates from the three models to the experts. The results from comparing the accuracy between expert judgment estimates before and after seeing the results from an algorithmic models show that experts changed their results for half of the experiments. However the accuracy of expert judgment estimates were not enhanced. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.654 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Computer Science |
|
dc.title |
การเปรียบเทียบความแม่นยําของการประเมินค่าความพยายามในการ พัฒนาซอฟต์แวร์ระหว่างวิธีการตัดสินใจของผู้เชี่ยวชาญ (Expert Judgment) และ วิธีตัวแบบขั้นตอนวิธี (Algorithmic Model) ภายใต้สภาวะแวดล้อมในประเทศไทย |
|
dc.title.alternative |
The Accuracy Comparison Of Software Cost Estimation Between Expert Judgment And Algorithmic Model In Thailand |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านธุรกิจ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.email.advisor |
Tharwon.A@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.654 |
|