DSpace Repository

การศึกษาการรับรู้ความอบอุ่น ความสามารถ และเจตคติต่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ

Show simple item record

dc.contributor.advisor หยกฟ้า อิศรานนท์
dc.contributor.author ฉัตรดาว สิทธิผล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2019-09-14T02:26:36Z
dc.date.available 2019-09-14T02:26:36Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63008
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการถูกประเมินความเชื่อแบบเหมารวมในมิติความอบอุ่น มิติความสามารถ และเจตคติของคนในสังคมที่มีต่อกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBT) โดยเจตคติต่อกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในงานวิจัยชิ้นนี้มุ่งเน้นไปที่บริบทของการทำงาน งานวิจัยชิ้นนี้ออกแบบให้มี 8 เงื่อนไข โดยกลุ่มตัวอย่างอ่านและประเมินใบประวัติของเป้าหมายที่เป็นเพศชาย, เพศหญิง, เลสเบี้ยน, เกย์ (Gays), ไบเซ็กชวลชาย (Bisexual men), ไบเซ็กชวล (Bisexual women), ชายข้ามเพศ (Transgender men) หรือหญิงข้ามเพศ (Transgender women) กลุ่มตัวอย่างเป็นชาย และหญิงที่มีรสนิยมแบบรักต่างเพศ 8 เงื่อนไข โดยให้ผู้เข้าร่วมการวิจัยอ่านประวัติของเป้าหมาย ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 20-39 ปี จำนวน 160 คน ผลการวิจัยปรากฏว่าไม่พบว่ารสนิยมทางเพศที่ต่างกัน ส่งผลให้ผู้มีความหลากหลายทางเพศถูกประเมินในมิติความอบอุ่น มิติความสามารถ และเจตคติในบริบทของการทำงานแตกต่างกัน รวมถึงไม่พบว่าเป้าหมายในการประเมินที่เป็นกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ถูกประเมินการเชื่อแบบเหมารวมในมิติของความอบอุ่น และความสามารถในด้านใดด้านหนึ่งน้อยกว่ากลุ่มรักต่างเพศ ซึ่งขัดแย้งกับงานวิจัยในอดีต ที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศมักจะได้รับการประเมินทั้งในด้านหนึ่งน้อยกว่าผู้ที่มีรสนิยมแบบรักต่างเพศ
dc.description.abstractalternative This research attempted to study perceived warmth, competence, and attitude towards LGBT in work-related dimensions. Participants were asked to read through a cv of a target person. They were randomly assigned into 1 of 8 conditions; the target person who was either 1) male; 2) female; 3) lesbian; 4) gay; 5) bisexual man; 6) bisexual woman; 7) transgender man; or 8) transgender woman. The sample of this study was 160 Bangkok heterosexual residents, aged between 20-39 years. Although the past research found the differences on perceived warmth and competence among LGBT targets, findings from this study showed no significant differences in social judgment among targets with different sexual orientations.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.742
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject คนกลุ่มน้อยทางเพศ
dc.subject คนกลุ่มน้อยทางเพศ -- แง่จิตวิทยา
dc.subject คนกลุ่มน้อยทางเพศ -- แง่สังคม
dc.subject การเลือกปฏิบัติ
dc.subject Sexual minorities
dc.subject Sexual minorities -- Psychological aspects
dc.subject Sexual minorities -- Social aspects
dc.subject Discrimination
dc.subject.classification Psychology
dc.title การศึกษาการรับรู้ความอบอุ่น ความสามารถ และเจตคติต่อกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศ
dc.title.alternative The study of perceived warmth, competence, and attitude towards LGBT
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline จิตวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.email.advisor Yokfah.I@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.742


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record