DSpace Repository

บทบาทการรณรงค์ของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ในต่างประเทศกรณีหญิงบำเรอทหารญี่ปุ่น: ศึกษาระหว่าง ค.ศ.2010-2017

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธีวินท์ สุพุทธิกุล
dc.contributor.author สุชาดา เลี้ยงชูศักดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-09-14T02:39:22Z
dc.date.available 2019-09-14T02:39:22Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63109
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาบทบาทของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ในการเรียกร้องความรับผิดชอบจากญี่ปุ่นกรณีหญิงบำเรอที่เกิดขึ้นช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ในเวทีระหว่างประเทศ ระหว่าง ค.ศ. 2010-2017 ทั้งในส่วนของการตั้งอนุสาวรีย์และรูปปั้นหญิงบำเรอในต่างแดนและการนำประเด็นขึ้นเรียกร้องในสถาบันระหว่างประเทศ เช่นองค์การสหประชาชาติ (United Nations)  โดยต้องการศึกษาว่า ภาคประชาสังคมเกาหลีใต้มียุทธศาสตร์หรือวิธีการใด ในการนำอนุสาวรีย์และรูปปั้นหญิงบำเรอไปตั้งในต่างประเทศและนำประเด็นปัญหาขึ้นเสนอต่อที่ประชุมขององค์การสหประชาชาติ ทั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แนวคิดเรื่องประชาสังคมข้ามชาติ (transnational civil society) มาเป็นกรอบในการศึกษายุทธศาสตร์ของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ 3 กลุ่ม คือ สมาคมชาวเกาหลีเพื่อผู้หญิงที่ถูกใช้บำเรอทหารญี่ปุ่น (the Korean Council for Women Drafted for Military Sexual Slavery by Japan) หรือ the Korean Council, ภาคประชาสังคมเมืองฮวาซ็อง (Hwaseong city civic group) และภาคประชาสังคมเมืองซูวอน (Suwon city civic group) ผลการศึกษาพบว่า ในการผลักดันประเด็นปัญหาในสู่เวทีนานาชาตินั้น ภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ใช้วิธีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับกลุ่มผู้สนับสนุนในต่างประเทศ อย่างภาคประชาสังคมภายนอกเกาหลีใต้และองค์กรระหว่างประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 รูปแบบด้วยกันคือ การใช้กรอบการมีประสบการณ์ร่วมกัน (sisterhood) การใช้อุดมการณ์สากลอย่างสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรี (human rights and women’s rights) และการผลักดันอดีตหญิงบำเรอออกมาสู่สาธารณะ (survivor’s testimony)
dc.description.abstractalternative The aim of this thesis is to study the role of South Korean civil societies in erecting comfort women monuments and statues abroad and raising the comfort women issue to the international institution – United Nations – during 2010-2017 to call for Japan’s responsibility to the issue of comfort women during WWII. The study is to answer the question: What are the strategies that South Korean civil societies utilized to erect comfort women monuments and statues in different countries, outside South Korea, and took the issue to the United Nations? This thesis applied the concept of “transnational civil society” to investigate the strategies of 3 groups of South Korean civil societies - the Korean council for women drafted for military sexual slavery by Japan (the Korean Council), Hwaseong city civic group, and Suwon city civic group.  This thesis found that the erecting comfort women monuments and statues abroad and raising the comfort women issue to the United Nations were done through transnational networks with civil societies in other country and international organizations. 3 strategies were used in making cooperation with transnational networks, there were creating the feeling of sisterhood, using universal ideology (human rights and women’s rights) and survivor’s testimony.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.739
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject หญิงบำเรอกาม -- เกาหลี (ใต้)
dc.subject สงครามโลก, ค.ศ. 1939-1945 -- สตรี
dc.subject ประชาสังคม -- เกาหลี (ใต้)
dc.subject ความร่วมมือระหว่างประเทศ
dc.subject เกาหลี (ใต้) -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
dc.subject Comfort women -- Korea (South)
dc.subject World War, 1939-1945 -- Women
dc.subject Civil society -- Korea (South)
dc.subject International cooperation
dc.subject Korea (South) -- Foreign relations
dc.subject.classification Social Sciences
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title บทบาทการรณรงค์ของภาคประชาสังคมเกาหลีใต้ในต่างประเทศกรณีหญิงบำเรอทหารญี่ปุ่น: ศึกษาระหว่าง ค.ศ.2010-2017
dc.title.alternative The Role of South Korean Civil Society in Campaigning Aboard about Comfort Women Issue: A Study during 2010-2017
dc.type Thesis
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.keyword หญิงบำเรอ
dc.subject.keyword ภาคประชาสังคมเกาหลีใต้
dc.subject.keyword ประชาสังคมข้ามชาติ
dc.subject.keyword สิทธิมนุษยชน
dc.subject.keyword สิทธิสตรี
dc.subject.keyword comfort women
dc.subject.keyword South Korean civil societies
dc.subject.keyword transnational advocacy
dc.subject.keyword human rights
dc.subject.keyword women's rights
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.739


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record