DSpace Repository

ผลของการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและแบบเอกเซนตริกต่อความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายของนักวิ่งระยะไกลชาย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ทศพร ยิ้มลมัย
dc.contributor.author เอกพันธ์ ภู่เงิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned 2019-09-14T02:47:09Z
dc.date.available 2019-09-14T02:47:09Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63146
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลของการฝึกระหว่างแบบพลัยโอเมตริกและแบบเอกเซนตริกที่มีต่อความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายของนักวิ่งระยะไกลชาย วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งระยะไกลชายอายุ 18-30 ปี จำนวน 20 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มฝึกแบบพลัยโอเมตริกและเอกเซนตริก ทั้งสองกลุ่มทำการฝึก 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบค่าแรงสูงสุดการหดตัวของกล้ามเนื้อน่องขณะเกร็งอยู่กับที่ ระยะความยาวที่ยืดออกของเอ็นร้อยหวาย และค่าความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวาย ก่อนและหลังการฝึก แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มที่ฝึกแบบพลัยโอเมตริกมีความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายเพิ่มขึ้นและระยะความยาวที่ยืดออกลดลงภายหลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างของค่าแรงสูงสุดการหดตัวของกล้ามเนื้อขณะเกร็งอยู่กับที่ ขณะกลุ่มที่ฝึกแบบเอกเซนตริกมีค่าความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวาย และแรงสูงสุดการหดตัวของกล้ามเนื้อขณะเกร็งอยู่กับที่เพิ่มขึ้น หลังการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างของระยะความยาวที่ยืดออก อย่างไรก็ตามไม่พบความแตกต่างของค่าความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายทั้ง 2 กลุ่ม สรุปผลการวิจัย การออกกำลังกายทั้งแบบพลัยโอเมตริกและแบบเอกเซนตริกสามารถช่วยพัฒนาความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายในนักวิ่งระยะไกลชายได้ไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบสามารถนำไปใช้เสริมสร้างความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายในนักวิ่งะยะไกลได้
dc.description.abstractalternative Purpose: The purpose of this study was to compare the effects of plyometric training and eccentric training on Achilles tendon stiffness in male long-distance runners Methods: Twenty male long-distance runners (aged 18-30 years old) were divided into 2 groups : plyometric training (PLY) and eccentric training (ECC) groups. Both groups were trained 3 days per week for 6 weeks. Maximal voluntary isometric contraction (MVC), tendon displacement and tendon stiffness were measured before and after training. A level of significant was set at p-value <.05. Results: The results showed that PLY significantly increased Achilles tendon stiffness and significantly decreased tendon displacement, but not MVC. In contrast, EEC significantly increased Achilles tendon stiffness and MVC but not tendon displacement. However, there was no significant difference in Achilles tendon stiffness observed between  groups. Conclusion: These results showed that either plyometric training or eccentric training was effective for enhancing Achilles tendon stiffness  and can be used by coach and athletes to strengthen Achilles tendon stiffness in male long distance runners.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1086
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject พลัยโอเมตริก (การฝึกกำลัง)
dc.subject เอ็นร้อยหวาย
dc.subject นักวิ่ง (กีฬา)
dc.subject บาดเจ็บจากการวิ่ง
dc.subject Plyometrics
dc.subject Achilles tendon
dc.subject Runners (Sports)
dc.subject Running injuries
dc.subject.classification Health Professions
dc.title ผลของการฝึกแบบพลัยโอเมตริกและแบบเอกเซนตริกต่อความแข็งแกร่งของเอ็นร้อยหวายของนักวิ่งระยะไกลชาย
dc.title.alternative Effects of plyometric and eccentric training on achilles tendon stiffness in male long-distance runners
dc.type Thesis
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline วิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1086


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record