dc.contributor.advisor |
พัดชา อุทิศวรรณกุล |
|
dc.contributor.author |
ปรีดา ศรีสุวรรณ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-09-14T02:49:51Z |
|
dc.date.available |
2019-09-14T02:49:51Z |
|
dc.date.issued |
2561 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63160 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 |
|
dc.description.abstract |
นวัตกรรมแฟชั่นยั่งยืนเป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางการออกแบบแฟชั่นยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงแนวทางการออกแบบแฟชั่นตามแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน และแนวทางการสร้างตราสินค้าแฟชั่นแนวคิดยั่งยืน โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ควบคู่กับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ เริ่มตั้งแต่การศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมแฟชั่น เพื่อสร้างความเข้าใจระบบอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ศึกษาแนวคิดของการออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable Design) ได้แก่ การลด (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) การซ่อมบำรุง (Repair) รวมไปถึงแนวคิดอัพไซคลิ่ง (Upcycling) ดาวน์ไซคลิ่ง (Downcycling) เป็นกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่ที่ให้ความสำคัญในด้านมูลค่า ตลอดจนแนวคิดเรื่องระบบการผลิตแบบปิด (Closed loop Production) มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ และแบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภค ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น และกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย จำนวน 200 คน ผลจากการวิจัยพบว่า แฟชั่นยั่งยืนมีแนวทางในการออกแบบดังนี้ 1) แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนที่เหมาะสมกับการออกแบบทางแฟชั่นได้แก่ การลด (Reduce) รีไซเคิล (Recycle) และ แนวคิดการใช้ซ้ำ (Reuse) 2) แนวทางการสร้างตราสินค้าแฟชั่นแนวคิดยั่งยืน โดยการสร้างสรรค์ผลงาน ด้วยแนวคิดเรื่องระบบการผลิตแบบปิด (Closed loop Production) ในทางแฟชั่นได้แก่ การสร้างแพทเทิร์นไร้เศษ (Zero-Waste Pattern Technique) สร้างสรรค์เสื้อผ้าโดยไม่เหลือเศษ เป็นอัตลักษณ์ตราสินค้า ตอบสนองความต้องการทางแฟชั่นของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย โอกาสการสวมใส่งานเลี้ยงสังสรรค์ รูปแบบสไตล์ดีคอนสตรัคชั่น (Deconstruction) จากแนวคิดและแนวทางในการออกแบบแฟชั่นยั่งยืน สามารถประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ช่องว่างทางการตลาด สู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นยั่งยืนได้ในอนาคต |
|
dc.description.abstractalternative |
This article is a part of the study on sustainable fashion innovation with the aims to explain the concept of designing fashion based on sustainability principles and branding plans. The qualitative and quantitative methods are used along with design process. The research begins with studying on the environmental problems from fashion industry in order to gain understandings of the effects of industrial system on the environment. Following the problems, the concept of sustainable design is reviewed which consists of reduce, reuse, recycle, repair. The study also looks into upcycling and downcycling, a recycle process which mainly focus on value of product as well as the concept of closed loop production. A survey method is conducted with the survey developed by the researchers and there are 200 participants who are generation Y involved. The result shows that designing sustainable fashion consists of two concepts. The first concept is the sustainably design concept aligning with fashion design comprised of reduce, recycle and reuse. The second is building branding by using the concept of closed loop production in fashion industry which is zero waste pattern technique. This is to respond to needs of generation Y customers and party dresses in the style of deconstruction. Those concepts of designing sustainable fashion can be applied and developed to respond to customer needs, gaps in the market which lead to the creation of sustainable fashion products in the future. |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.811 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.subject.classification |
Arts and Humanities |
|
dc.title |
นวัตกรรมแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน |
|
dc.title.alternative |
Innovation of sustainable fashion |
|
dc.type |
Thesis |
|
dc.degree.name |
ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
นฤมิตศิลป์ |
|
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.identifier.DOI |
10.58837/CHULA.THE.2018.811 |
|