DSpace Repository

ทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามที่ให้อิทธิพลกับลวดลายประดับสมัยอยุธยา

Show simple item record

dc.contributor.advisor จีราวรรณ แสงเพ็ชร์
dc.contributor.author วรพจน์ ไวยเวทา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-09-14T02:50:08Z
dc.date.available 2019-09-14T02:50:08Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63183
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การศึกษาวิจัยทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามที่ให้อิทธิพลกับลวดลายประดับสมัยอยุธยา เป็นการศึกษาทำความเข้าใจตั้งแต่ต้นกำเนิดศิลปะวิทยาการด้านศิลปะอิสลาม การนำมาปรับใช้ในยุคสมัยต่างๆของโลกอิสลาม ที่มาแนวคิด กฎเกณฑ์ สุนทรียศาสตร์ ความงาม จากความศรัทธาของศาสนา เกิดเป็นทฤษฎีโครงสร้างสู่การจัดระเบียบโครงสร้างต่างๆ รวมไปถึงลวดลายประดับ ศาสตร์และองค์ความรู้ที่ปราชญ์ชาวมุสลิมได้ให้คุณูปการกับโลกใบนี้นับพันปี ก่อเกิดเป็นทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลาม ศาสตร์แห่งเรขาคณิตอิสลามหรือ Islamic Geometry เป็นหนึ่งในองค์ความรู้เชิงช่างที่สำคัญ เป็นอัตลักษณ์ที่สรรค์สร้างให้ศิลปะอิสลามมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ที่ประจักษ์และยกย่องของโลกถึงความงดงามเหล่านั้น รูปแบบสกุลช่างศิลปะอิสลามที่อาจส่งอิทธิพลผ่านความสัมพันธ์ระหว่างชาติ จากหลักฐานอันโดดเด่นในสมัยอยุธยาที่กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่มีต่อชาวมุสลิมทั้งรูปแบบสกุลช่างศิลปะอิสลามเปอร์เซียและสกุลช่างศิลปะอิสลามอินเดีย มูลเหตุข้อสันนิษฐานของนักวิชาการไทยในอดีตที่กล่าวถึงลวดลายประดับศิลปะไทยในสมัยอยุธยาที่มีอิทธิพลลวดลายประดับจากศิลปะอิสลาม เมื่อนำมาตรวจสอบด้วยเครื่องมือทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามแล้วพบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมากในเชิงลึกตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงอยุธยาตอนปลาย  มิติของการถ่ายเทองค์ความรู้ ช่างสมัยอยุธยาจำเป็นต้องมีความเข้าใจและความชำนาญในทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามเป็นอย่างดี จึงได้นำระบบโครงสร้างเหล่านี้มาพัฒนาและประยุกต์ใช้กับลวดลายศิลปะไทยพื้นถิ่นได้อย่างลงตัวทำให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชาวไทยต่อชาวมุสลิมที่มีมาแต่อดีตมาช้านาน ทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามนี้เป็นเครื่องยืนยันว่ากระบวนการเชิงช่างศิลปะไทยในอดีตนั้นมีการคำนวณสัดส่วนอันงดงามต่างๆ อย่างเป็นระบบแบบแผนจากการคำนวณเชิงคณิตศาสตร์อย่างชัดเจน ทฤษฎีเชิงช่างนี้อาจเป็นกุญแจไขความลับของความงดงาม ฟื้นความเข้าใจทฤษฎีเชิงช่างของศิลปะไทยสมัยอยุธยาที่ได้รับการยอมรับในความงดงามอันวิจิตรเหล่านั้นซึ่งได้สูญหายไปกับกาลสมัยอยุธยาก็เป็นได้
dc.description.abstractalternative The study of Islamic Artistic Influence in Ayutthaya Decorative Art Theoretical and Analytical is the study and understanding of the origin of Islamic art.  Adoption in various periods of the Islamic world. The concept of aesthetic, aesthetics that comes from the faith of religion.  It is a theory of structures that organize various structures, including decorative patterns.  The science and knowledge that Muslim scholars have given to the world for thousands of years.  Formed as the theory of Islamic art.  The science of geometry, Islam or Islamic Geometry is one of the important mechanics of knowledge that is unique to the creation of Islamic art with its unique identity and the praiseworthiness of the world. The genre of Islamic art, which may be influenced by the relationship with the outstanding evidence of the Ayutthaya period, which discusses the relationship with Muslims, including the form of art, Islamic art, Persian and Indian art artisans.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.797
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject.classification Arts and Humanities
dc.title ทฤษฎีเชิงช่างศิลปะอิสลามที่ให้อิทธิพลกับลวดลายประดับสมัยอยุธยา
dc.title.alternative Islamic artistic influence in Ayuthaya decorative art : theoretical and analytical study
dc.type Thesis
dc.degree.name ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline ทัศนศิลป์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.797


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

  • Fine Arts - Theses [876]
    วิทยานิพนธ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์

Show simple item record