DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีณา จีระแพทย์
dc.contributor.author สกาว ถิ่นนุช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-09-14T02:53:29Z
dc.date.available 2019-09-14T02:53:29Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63189
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด  กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดครั้งแรกอายุ 1-5 ปี และเข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยในโรงพยาบาลตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 44 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุม กลุ่มละ 22 ราย โดยการจับคู่ให้มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ในครอบครัวอยู่ในระดับเดียวกัน และมีจำนวนเท่ากันในทั้ง 2 โรงพยาบาล กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด, สื่อวิดิทัศน์, คู่มือการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดที่บ้าน แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและแบบวัดความรู้เรื่องการดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยให้นวัตกรรมการพยาบาลในการวางแผนการจำหน่าย สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนการจำหน่ายกลับบ้านให้แก่ผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัดได้ เพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแลและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นที่บ้าน
dc.description.abstractalternative This is quasi-experiment research is to study the effect of discharge planning program on caregiver’s caring behavior of children with congenital heart disease (CHD) after heart surgery. Subjects were 44 caregivers of children with first-time after CHD surgery, age 1 to 5 years old and were admitted at the two tertiary level hospitals. Subjects were assigned to the control and the experimental groups by matching caregivers’ age, educational level, and family income and were equally distributed among the hospitals. They were 22 subjects in each group. The control group received routine nursing care, while the experimental group received the discharge planning program for children with CHD after heart surgery. Research instruments included the discharge planning program for children with CHD after heart surgery, VDO, the parental guidebook of caring behavior of children with CHD after heart surgery, the questionnaires of caregiver’s caring behavior of children with CHD after heart surgery and a measurement of knowledge on caregiver’s caring children with CHD after heart surgery. Data were analyzed using descriptive statistics and t-test. The research finding was that mean of caregiver’s caring behavior of children with CHD after heart surgery caregivers in the experimental group were higher than that in the control groups at posttest at the level of .05 The research provides innovative nursing intervention for caregiver’s preparation in caring for the children with CHD after heart surgery at home. The finding suggests that VDO, parental guidebook, and telephone follow-up intervention promote caregiver’s ability and may prevent complication that may occur at home.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1009
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในเด็ก
dc.subject การดูแลหลังศัลยกรรม
dc.subject โรงพยาบาล -- การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย
dc.subject Congenital heart disease in children
dc.subject Postoperative care
dc.subject Hospitals -- Admission and discharge
dc.subject.classification Nursing
dc.title ผลของโปรแกรมการวางแผนการจำหน่ายต่อพฤติกรรมการดูแลที่บ้านของผู้ดูแลเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดหลังได้รับการผ่าตัด
dc.title.alternative The effect of discharge planning program on caregiver’s caring behavior for children with congenital heart disease after heart surgery at home
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.1009


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record