DSpace Repository

การศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้บนเกาะกลางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.author รัชนี วีรพลิน
dc.contributor.author ภัทรา ชินทรารักษ์
dc.contributor.author นันทนา อังกินันทน์
dc.contributor.author เกษรา อนามธวัช-จอนสัน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.coverage.spatial กรุงเทพมหานคร
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคกลาง)
dc.coverage.spatial กรุงเทพฯ
dc.date.accessioned 2008-03-20T06:44:49Z
dc.date.available 2008-03-20T06:44:49Z
dc.date.issued 2522
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6318
dc.description.abstract การศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ที่ปลูกบนเกาะกลางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ตอนที่ 1 เป็นการสำรวจชนิด ปริมาณ และภาวะการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ที่ปลูกบนเกาะกลางถนน 12 สาย ในเขตกรุงเทพมหานคร พันธุ์ไม้ที่สำรวจพบในระหว่างเดือนตุลาคม 2520 มีทั้งหมด 43 ชนิด แต่ละชนิดมีปริมาณต่างกัน พันธุ์ไม้ที่พบในปริมาณน้อยมากจนสรุปภาวะการเจริญไม่ได้ มีอยู่ 9 ชนิด พันธุ์ไม้อีก 34 ชนิด จำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่ม ตามภาวะการเจริญเติบโตคือ กลุ่มที่ 1 ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ 14 ชนิด มีการเจริญอยู่ในเกณฑ์ดีหรือค่อนข้างดี ซึ่งแสดงว่ามีแนวโน้มที่จะทนทานต่อสภาพแวดล้อมบนท้องถนนได้ กลุ่มที่ 2 ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ 3 ชนิด ซึ่งมีการเจริญอยู่ในระดับปานกลาง กลุ่มที่ 3 ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ 12 ชนิด ที่มีระดับการเจริญหลายระดับขึ้นกับถนนที่ปลูก พวกที่พบบนถนนที่มีการจราจรคับคั่ง จะมีการเจริญอยู่ในระดับที่ด้วยกว่าพวกที่ปลูกบนถนนสายอื่นๆ ที่มีการจราจรไม่คับคั่ง กลุ่มที่ 4 ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ 5 ชนิด ซึ่งมีการเจริญอยู่ในระดับไม่ดี ตอนที่ 2 เป็นการศึกษาถึงการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ซึ่งพบจากการสำรวจในตอนที่ 1 ว่ามีอยู่ในปริมาณมาก และมีแนวโน้มที่จะทนทานต่อสภาพท้องถนนได้ พันธุ์ไม้ที่เลือกมาศึกษาได้แก่แพงพวย Catharanthus roseus (Linn.) G. Don. เข็มแดง (Ixora coccinia Linn.) และทรงบาดาล (Cassia surattensis Burm.) ดัชนีที่ใช้วัดการเจริญเติบโตเปรียบเทียบระหว่างพันธุ์ไม้ที่ปลูกบนเกาะกลางถนนกับพันธุ์ไม้ชนิดเดียวกันที่ปลูกในที่ห่างไกลจากถนนหลวงได้แก่ ขนาดของใบและดอก น้ำหนักแห้งของใบ ลำต้นและดอก ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ทางสถิติชี้บ่งว่าพันธุ์ไม้ ตัวอย่างทั้ง 3 ชนิด ซึ่งปลูกบนเกาะกลางถนนเจริญด้อยกว่าพวกที่ปลูกในที่ห่างไกลจากถนนมาก และในกลุ่มพวกที่ปลูกบนเกาะกลางถนนนั้น พวกที่ปลูกบนถนนสายที่มีการจราจรคับคั่งมากกว่าหรือพวกที่ปลูกบนเกาะกลางถนนที่มีขนาดเกาะเล็กกว่าเจริญได้ด้อยกว่า ข้อมูลที่ได้จึงแสดงให้เห็นขัดเจนว่า ปัจจัยแวดล้อมบนท้องถนนซึ่งได้แก่ มลภาวะในอากาศรวมทั้งเสียงและการสั่นสะเทือน อุณหภูมิที่สูง และการจำกัดของอาณาเขตที่รากพืชจะเจริญได้มีส่วนในการลดการเจริญของพันธุ์ไม้ ตอนที่ 3 เป็นการศึกษาถึงภาวะการเจริญเติบโตของแพงพวยและเข็มแดงที่ปลูกบนดินที่มีสภาพแตกต่างกันบนเกาะกลางถนนพระรามที่ 4 ซึ่งมีการจราจรคับคั่งมาก เพื่อที่จะเปรียบเทียบดูว่าหากปรับสภาพดินให้ดีขึ้นจะช่วยให้พืชทั้ง 2 ประเภทที่มีการเจริญเติบโตดีขึ้นหรือไม่ สภาพดินที่ใช้ในการทดลองมี 3 ชนิดคือ ดินถนนล้วน ดินถนนผสมปุ๋ยอินทรีย์เทศบาลในสัดส่วน 1:1 และดินที่นำมาจากสวนธนบุรีรมย์ผสมปุ๋ยอินทรีย์เทศบาลในสัดส่วน 1:1 เมื่อวัดการเจริญเติบโตสองครั้งคือในเดือนเมษายน และเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2522 โดยใช้ดัชนีประเภทเดียวกับที่ใช้ในตอนที่ 2 พบว่าในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง (มกราคม-เมษายน 2522) แพงพวยที่นำมาปลูกบนเกาะกลางถนนโดยใช้ดินที่โปร่ง อุ้มน้ำและมีอินทรีย์สารมาก (ดินธนบุรีรมย์ผสมปุ๋ยในสัดส่วน 1:1) มีการเจริญเติบโตดีที่สุด แต่หลังจากนั้นในสภาพที่อากาศชุ่มชื้นมีฝนตกชุก (พฤษภาคม-กรกฎาคม 2522) การเจริญเติบโตของแพงพวยบนดินทั้ง 3 ประเภทไม่แตกต่างกัน และเจริญเติบโตดีกว่าในช่วงที่ อากาศแห้งแล้งอย่างเห็นได้ชัด สำหรับเข็มแดงในช่วงที่อากาศแห้งแล้งสภาพดินที่โปร่งและอุ้มน้ำไม่อาจช่วยให้เข็มแดงเจริญดีกว่าสภาพดินชนิดอื่นได้ในระยะแรก แต่เมื่อทิ้งระยะให้เข็มแดงใช้เวลาในการเจริญเติบโตนานขึ้น เข็มแดงจะแสดงความแตกต่างในการเจริญเติบโตได้ โดยพวกที่ปลูกบนดินถนนผสมปุ๋ยมีการเจริญเติบโตได้พอๆ กับพวกที่ปลูกบนดินธนบุรีรมย์ผสมปุ๋ยและเจริญดีกว่าพวกที่ปลูกบนดินถนนล้วน อย่างไรก็ดีการเจริญเติบโตของเข็มแดงที่วัดในช่วงที่อากาศชุ่มชื้นมิได้ดีกว่าการเจริญในช่วงอากาศแห้งแล้ง ดังเช่นกรณีของแพงพวย en
dc.description.abstractalternative A study of growth of ornamental plant species grown along the media road blocks in Bangkok Metropolis was carried out in three successive parts. The first part concerned a survey of the type the quantity, and the growing status of plant species grown on twelve streets in Bangkok Metropolis. Forty-three plant species, in varying quantities, were found during the survey made in October, 1977. Nine species were grown in the least extent, thus, valid conclusion on the growing status of these plants could not be drawn. Eased on their growing status, other thirty-three species were divided into four groups. The first group consisted of fourteen plant species which exhibited healthy appearance, an indication of the potential ability to withstand the polluting environments of the street. The second group comprised of three plant species with moderate growth. The third group included twelve plant species which, depending upon the street environments, showed varying degrees of growth. Evidently, plants grown on the streets, which were always occupied with heavy traffic, exhibited poor growth. The fourth group consisted of five plant species which exhibited poor growth. The second part dealt with a study of growth of selected species which, from the previous survey, were found abundantly and showed some potential adaptability to the environments on the streets. The species were Catharantus roseus (Linn.) G.Don, Ixora coccinia Linn. And Cassia surattensia Burm. Growth study was not only done on plants grown on the streets, but also on plants grown in the area far away from the streets. The measured growth indices were size of leaves and flowers, and dry weight of leaves, stems and flowers. The results have shown that growth of all three plant species grown on the streets was statistically poorer than growth of these species grown in the areas far away from the streets. Among the streets observed, those occupied with heavy traffic or with small size of soiled areas reduced plant growth significantly. The results suggest that environmental conditions on the streets, such as air pollution, noise pollution, street turbulence, high temperature, and limited exten of soiled area where plant roots occupied, have harmful effects on plant growth. The third part was a study of growth of Catharanthus roseus (Linn.) G. Don and Ixora Coccinia Linn. On different soil types and on street anvironments. Rama IV, the street occupied with heavy traffic, was selected for the experimentation site. A comparison of growth of these two taxa on different soil types was of special interest. Three soil types were used. A one to one mixture of soil from Thonburi-Rhom Garden and organic fertilizer, a one to one mixture of regular soil used by Park Division, Bangkok Metropolitan Administration and organic fertilizer, and a regular soil used by Park Division but with no extra organic fertilizer added. Samples were taken out at random for growth studies twice; in April and in July, 1979. Growth measurements were the same as those used in the second part. The growth data were analysed statistically, It can be concluded that, during the dry season, Catharanthus roseus (Linn.) G.Don growth on the first soil type exhibited better growth compared to plants grown on other soil types. Later in the wet season, growth of plants grown on all types of soil turned out to be similar. However, the growth was substantially belter than that in dry season. The response of Ixora coccinia Linn. to soil types was considerably different from that of Catharanthus roseus (Linn.) G.Don. During the dry season, the first type of soil which was well aerated and had high water holding capacity did not cause Ixora coccinia Linn. to exhibit a better growth when compared with other types of soil. After leaving plants to grow longer in these soils the differences in growth due to soil types became apparent. That is, growth of plants grown on the first and second soil type, although did not differ from each other, was significantly better than that of plants grown on the third type of soil (the poorest soil). However, growth of Ixora coccinia Linn. in wet season was not better than growth in dry season, in all types of soil. en
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.format.extent 7071097 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การปลูกต้นไม้ en
dc.subject การเจริญเติบโตของพืช en
dc.subject ต้นไม้ในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ
dc.title การศึกษาการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้บนเกาะกลางถนนในเขตกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative A study of growth of ornamental plant species grown along the median road blocks in Bangkok metropolis en
dc.type Technical Report es
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author Nantana.a@chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record