Abstract:
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการพัฒนาทักษะ โดยการให้ข้อมูล และการสร้างแรงจูงใจ ระหวางกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาแผนกคลินิกพิเศษ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 44 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 22 คน และกลุ่มทดลอง 22 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาทักษะ โดยการให้ข้อมูล และการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือตามแนวคิดของรูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ (Information Motivation Behavioral Skill: IMB Model) ของ Fisher & Harman (2003) เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินอาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พัฒนาเครื่องมือโดยผู้วิจัย เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมและความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน นำมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบง่าย(Correlation coefficient) มีค่า = 0.9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที
1. อาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมฯ น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. อาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมฯไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ