DSpace Repository

ปัจจัยทำนายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลศรีธัญญา

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัชนีกร อุปเสน
dc.contributor.author รัตติยาพร เบ็ญเจ๊ะมะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-09-14T02:53:32Z
dc.date.available 2019-09-14T02:53:32Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63194
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
dc.description.abstract การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนาย ได้แก่ เพศ ช่วงเวลาของอาการโรคจิตที่ไม่ได้รับการรักษา ระยะเวลาของการเจ็บป่วย การหยั่งรู้สภาพของตนเอง ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา การแสดงออกทางอารมณ์สูงในครอบครัว และการทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ที่สามารถทำนายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มตัวอย่างคือ บุคคลที่ป่วยด้วยโรคจิตเภทที่มารับบริการในโรงพยาบาลศรีธัญญา จํานวน 220 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท แบบประเมินการหยั่งรู้สภาพของตนเอง แบบประเมินความร่วมมือในการรักษาด้วยยา แบบวัดระดับการแสดงออกทางอารมณ์ในครอบครัว และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย เครื่องมือทุกฉบับผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่น ดังนี้ .95, .75, .80, .94 และ .80 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (Logistic regression analysis)  ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้  ตัวแปรที่สามารถทำนายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภทได้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีจํานวน 3 ตัวแปร ได้แก่ การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด ความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและการหยั่งรู้สภาพของตนเอง โดยสามารถเขียนสมการถดถอยโลจิสติกได้ ดังนี้ Predicted logit (อาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท) = -13.066 + 0.130*(การหยั่งรู้สภาพของตนเอง) + 0.071*(ความร่วมมือในการรักษาด้วยยา) + 0.325*(การทำหน้าที่ด้านการรู้คิด) สามารถร่วมกันทำนายตัวแปรตามได้ ร้อยละ 46.8
dc.description.abstractalternative The purpose of this descriptive research was to determine predictors of remission in persons with schizophrenia. The factors predicting variables were gender, duration of untreated psychosis, duration of illness, cognitive insight, medication adherence, highly-expressed emotion in family, and cognitive function. Subjects were persons with schizophrenia treated as in-patients and out-patients in Srithanya Hospital. A total of 220 patients were equally divided into two groups: remission and non-remission. The research instruments were demographic interview, The Beck Cognitive Insight Scale, medication adherence behavior questionnaire, The Level of Expressed Emotion, and Thai Mini-Mental State Examination. All instruments were reviewed for content validity by five experts. Their reliabilities were .95, .75, .80, .94 และ .80, respectively. Data were analysed by logistic regression. The major result was that factors predicting of remission in schizophrenic patients include three variables could significantly at the .05 levels were namely, cognitive function, medication adherence and cognitive insight. The logistic response formula were: Predited logit (remission in persons with schizophrenia) = -13.066 + 0.130*(insight) +0.071*(medication Adherences) + 0.325*(cognitive function). These predictors were accounted for 46.8 percent.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.996
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject ผู้ป่วยจิตเภท
dc.subject การรักษาด้วยยา
dc.subject Schizophrenics
dc.subject Chemotherapy
dc.subject.classification Nursing
dc.title ปัจจัยทำนายอาการสงบของผู้ป่วยจิตเภท โรงพยาบาลศรีธัญญา
dc.title.alternative Predicting factor of remission in persons with schizophrenia, Srithanya Hospital
dc.type Thesis
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline พยาบาลศาสตร์
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.THE.2018.996


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record