DSpace Repository

การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของฝั่งทะเลหลังการปลูกป่าชายเลน ที่ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยรีโมทเซนซิ่ง : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author อัปสรสุดา ศิริพงศ์
dc.contributor.author ศุภิชัย ตั้งใจตรง
dc.contributor.author ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.coverage.spatial สตูล
dc.date.accessioned 2008-03-21T01:56:07Z
dc.date.available 2008-03-21T01:56:07Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6321
dc.description.abstract ข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซท-5 ระบบที เอม 3 ช่วงเวลาคือ ก่อนการปลูกป่า 11 มีนาคม 2538 ปีที่เริ่มปลูกป่า 19 มีนาคม 2541 และ 1 ปีหลังการปลูกป่า 18 กุมภาพันธ์ 2542 ได้ถูกนำมาใช้จำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน 9 ชั้น เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของฝั่งทะเล หลังการปลูกป่าชายเลนที่ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย ข้อมูลประกอบภาคสนามคือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า ป่าชายเลนที่ถูกบุกรุกทำลายจาก 10.4% (2538) ลดลงเหลือ 3.35% (2541) และเพิ่มเล็กน้อย 5.08% (2542) ส่วนป่าชายเลนที่ปลูกใหม่จาก 7.05% ก่อนปลูกป่า เพิ่มเป็น 13.2% ตอนปลูกป่า และลดลง 9.26% หลังปลูกป่า เพราะมีปูแสมและลิงทำลายไปบ้าง ส่วนป่าชายเลนสมบูรณ์จาก 7.49% ก่อนปลูกป่า ลดลงเหลือ 6.65% ตอนปลูกป่า (เพราะบางแห่งอาจถูกเคลียร์เพื่อทำการปลูกป่า) และเพิ่มเป็น 16.12% หลังปลูกป่าพื้นที่นากุ้งจาก 7.09% ก่อนปลูกป่า เพิ่มเป็น 8.13% ช่วงปีปลูกป่า และลดลงเหลือ 7.15% หลังการปลูกป่า สำหรับป่าบกไม่มีการเปลี่ยนแปลงมาก เนื่องจากเป็นป่าสงวนแห่งชาติ NDVI มีสีเข้มขึ้นหลังการปลูกป่า แสดงถึงความเจริญเติบโตที่ดี ในกรณีผลกระทบของการปลูกป่าชายเลนต่อกระบวนการและสัณฐานของฝั่งทะเล พื้นที่หาดโคลนเพิ่มจาก 1.044% เมื่อก่อนปลูกป่ามาเป็น 10.728% ในปีปลูกป่า แล้วกลับลดลงเหลือ 0.614% หลังปลูกป่า 1 ปี อย่างไรก็ตามพื้นที่เปิดโล่งในป่าเลน กลับลดลงจาก 5.636% เมื่อก่อนปลูกป่ามาเป็น 1.224% ในปีปลูกป่า แล้วเพิ่มเป็น 1.433% หลังปลูกป่า 1 ปี สำหรับด้านข้อมูลประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ในปีก่อนการปลูกป่า (2538) ความผิดสภาพของฝนรายปีและอุณหภูมิรายปีเป็นบวก (มากกว่าปกติ) น้ำท่าเป็นลบ ในปีปลูกป่า (2541) ซึ่งเกิดปรากฏการณ์เอลนินใหญ่ ความผิดสภาพของฝนรายปีเป็นลบ (น้อยกว่าปกติ) แต่ค่าผิดสภาพของอุณหภูมิรายปีเป็นบวก รวมทั้งค่าผิดสภาพของน้ำท่ารายปีก็เป็นบวก หนึ่งปีหลังการปลูกป่า (2542) ซึ่งเกิดปรากฏการณ์ทั้งปลายเอลนินโญ่และเริ่มลานินญ่าในปีเดียวกัน ค่าผิดสภาพของฝนรายปีเป็นบวก แต่ค่าผิดสภาพของอุณหภูมิรายปีเป็นลบมากๆ และน้ำท่าเพิ่มขึ้นในสภาพทั่วไปฝนมีแนวโน้มลดลง ส่วนอุณหภูมิอากาศ และน้ำท่า มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในกรณีข้อมูลประกอบด้านทรัพยากรธรรมชาติ ข้อมูลล่าสุดที่ได้รับเป็นปีที่มีการปลูกป่า นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังครอบคลุมทั้งจังหวัด ผลผลิตของการเลี้ยงสัตว์น้ำทั้งจังหวัดก่อนปลูกป่ามี 5,966 ระหว่างปลูกป่ามี 5,858 ตัน ยังไม่ได้ข้อมูลหลังปลูกป่า แต่ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อพื้นที่ป่ามีน้อยลง ผลผลิตของการเลี้ยงสัตว์น้ำลดลง พื้นที่ของการเลี้ยงสัตว์น้ำ (กุ้ง ปู ปลา) ก่อนปลูกป่ามีจำนวน 8,985 ไร่ ระหว่างปลูกป่าลดลงเหลือ 5,276.6 ไร่ มีการเลี้ยงปลาเพิ่มขึ้นจาก 5 ไร่ ในปีก่อนปลูกป่าเป็น 23.67 ไร่ในปีที่ปลูกป่า ผลผลิตการเลี้ยงปลารวมระหว่างปลูกป่าเพิ่มขึ้นก่อนการปลูกป่า พื้นที่และผลผลิตของการเลี้ยงหอยแครงเพิ่มขึ้นจับจากก่อนปลูกป่ามาจนถึงปีที่ปลูกป่า การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของทั้งจังหวัดสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนากุ้งใน 3 ช่วงเวลาในบริเวณที่ศึกษา จากการแปลภาพด้วยดาวเทียม งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการปลูกป่าแม้เพียง 1 ปีให้หลัง ก็ยังแสดงให้เห็นถึงการฟื้นตัวของระบบนิเวศสู่สภาพสมดุลขึ้น และสิ่งแวดล้อมดีขึ้น เช่น ปริมาณน้ำท่าเพิ่มขึ้น จึงควรส่งเสริมให้มีการปลูกป่าให้มากยิ่งขึ้น en
dc.description.abstractalternative The Landsat-5 TM data of 3 periods, one before reforestation on 11 March 1995, one during reforestation on 19 March 1998 and just one year after reforestation on 18 February 1999, were used to classify into 9 classes of landuses. The objective is to study the change of natural resources and environment after mangrove reforestation at PuYu District, Amphoe Muang, Satun Province, which is situated on the Andaman Seacoast of Southern Thailand. The supplementary data are composed of the parameters on the natural resources and environment in the Satun Province. The results show that the mangrove forest areas were reduced from 10.4% in 1995 to 3.35% in 1998 and increased a little bit to 5.08% in 1999. For reforestation area, it covered 7.05% before replanting, increased to 13.2% during replanting and decreased to 9.26% one year after. The crabs and monkeys are the principal destroyers. The natural mangrove area was 7.49% before reforestation, decreased to 6.65% during reforestation year (because some areas were cleared for replant activities) and increased to 16.12% after one year. The shrimp farm covered 7.09% in 1995, increased to 8.13% in 1998 and decreased to 7.15% in 1999. The hill forests were not changed much because it is the National Forest. The NDVI was blacken after reforestation, which means that the new plants have been growing very well. In the case of impact of reforestation on coastal processes and morphology, the area of mudflat was increased from 1.044% before reforestation to 10.728% during reforestation year and reduced to 0.614% one year after. However, the open area in the mangrove was reduced from 5.636% to 1.224% and increased to 1.433% respectively. For supplementary data in environment, the meteorological data were collected in time of study. In 1995, the annual rainfall anomaly and yearly air temperature anomaly were plus (more than normal) and annual river runoff anomaly was minus (less than normal) In 1998, the EI Nino year, the annual rainfall anomaly was minus but yearly air temperature anomaly and annual river runoff anomaly were plus. One year after reforestation in 1999, the end of EI Nino and the beginning of La Nina year, the annual rainfall anomaly was plus, but yearly air temperature anomaly was minus, the runoff was increased. For the natural resources, the latest data which we received are in the year of planting. Moreover, these data cover the whole province instead of the study area. The aquacultural yield of the whole province before replanting was 5,966 tons and during planting year, it was 5,858 tons. The data after replanting have not been published yet. However, these data showed that when the mangrove forest area was depleted, the aquacultural yield was also reduced. The aquacultural (shrimp, crab, fish) area was 8,985 Rai before replanting and was 5,276.6 Rai during planting year. For fish farming, the area was increased from 5 Rai before replanting to 23.67 Rai in the year of planting. The total yield during planting year was more than before replanting. The area and yield of bloody cockle farming was increased from the year before replanting to planting year. The change of aquacultural area of the whole province is in consistent with the change of shrimp farm in 3 periods in the study area by the interpretation from satellite data. This research shows that the reforetation activities even only one year after, affect the recovery of the natural resources and environment approaching to the balance in ecosystem such as the increase of river runoff and productivity. We should therefore promote the reforestation plan in the future. en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 9142567 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ดาวเทียมแลนแซท en
dc.subject ป่าชายเลน -- ไทย -- สตูล en
dc.subject การจัดการสิ่งแวดล้อม en
dc.title การเปลี่ยนแปลงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของฝั่งทะเลหลังการปลูกป่าชายเลน ที่ตำบลปูยู อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยรีโมทเซนซิ่ง : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative The change of coastal resources and environment after mangrove reforestation at Pu Yu District, Amphoe Muang, Satun Province by remote sensing en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Absornsuda.S@Chula.ac.th, sabsorns@netserv.chula.ac.th
dc.email.author supichai@sc.chula.ac.th
dc.email.author lthaitha@chula.ac.th, thaitha@sc.chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record