DSpace Repository

การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์กบเพื่อประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเกษตร : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author ผุสตี ปริยานนท์
dc.contributor.author ประคอง ตังประพฤทธิ์กุล
dc.contributor.author นงเยาว์ จันทร์ผ่อง
dc.contributor.author ธีรวรรณ นุตประพันธ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2008-03-21T04:36:41Z
dc.date.available 2008-03-21T04:36:41Z
dc.date.issued 2538
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6331
dc.description.abstract การปรับปรุงพันธุ์กบนา Rana tigerina โดยการคัดเลือกลักษณะทางปริมาณของกลุ่มพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งต่างๆ นำมาผสมข้ามกลุ่มโดยวิธีผสมกลับสลับเพศ จากนั้นทำการศึกษาการเจริญเติบโตของกบรุ่นลูก (F[subscript 2]) อายุ 1 2 และ 3 เดือน นับจากวันที่วางไข่ พบว่าลูกกบมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 5.386 +- 0.565 กรัม 22.624 +- 2.684 กรัม และ 42.367 +- 7.160 กรัม ตามลำดับ เมื่ออายุ 4 ถึง 6 เดือน สามารถแยกเพศได้ พบว่าเพศผู้ อายุ 4 เดือน มีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 118.295 +- 19.575 กรัม อายุ 5 เดือนเท่ากับ 125.60 +- 35.627 กรัม อายุ 6 เดือน เท่ากับ 128.537 +- 40.923 กรัม ส่วนเพศเมียพบว่ามีน้ำหนักเฉลี่ย 146.810 +- 19.578 กรัม ที่อายุ 4 เดือน 192.275 +- 35.592 กรัม เมื่ออายุ 5 เดือน และ 205.020 +- 40.506 กรัม เมื่ออายุ 6 เดือนตามลำดับ การผสมพันธุ์กบบูลฟร็อก Rana catesbeiana โดยการนำกบจากแหล่งต่างๆ คัดเลือกวิธีเดียวกันกับกบนามาทำการผสม จากนั้นคัดเลือกรุ่นลูกจากกลุ่มที่มีอัตราการเจริญเติบโตดีไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ของรุ่นถัดไป จากนั้นทำการชั่งน้ำหนักโดยนับอายุลูกกบเริ่มหางหดหมดเป็นเดือนที่ 1 จนถึงเดือนที่ 6 พบว่ามีน้ำหนักเฉลี่ย 9.996 +- 0.793 กรัม 25.816 +- 1.847 กรัม 44.340 +- 3.133 กรัม 161.530 +- 22.399 กรัม 175.750 +- 20.519 กรัม และ 205.440 +- 23.498 กรัม ตามลำดับ ผลที่ได้จากการศึกษาเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตของกบนาและกบบูลฟร็อก เพื่อเป็นข้อมูลด้านการผลิตกบเนื้อ ในช่วงระยะ 4-6 เดือน พบว่ากบนาเพศเมียกับกบบูลฟร็อกมีอัตราการเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน และจะมีน้ำหนักประมาณ 5-6 ตัว/กิโลกรัม การศึกษาแบบแผนการหลั่งฮอร์โมนเพศ ในกบนาและกบบลูฟร็อกเพศผู้และเพศเมียที่โตเต็มที่ในรอบหนึ่งปี โดยเก็บตัวอย่างพลาสมาทุกเดือนวัดปริมาณฮอร์โมนโดยวิธีเรดิโออิมมูโนเอสเสย์ พบว่าปริมาณเทสทอสเตอโรนในกบนาเพศผู้และเพศเมีย จะเริ่มสูงขึ้นในเดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม โดยในเพศผู้วัดได้สูงถึง 3,000 พิโดโมล/ลิตร ในเดือนพฤกษภาคม และในเพศเมียวัดได้ 1,500-1,800 พิโดโมล/ลิตร ในเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน และฮอร์โมนนี้จะมีปริมาณต่ำวัดได้ 100 พิโดโมล/ลิตร ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย การหลั่งฮอร์โมนเอสตราไดออล 17 บีต้า กบนาเพศเมียพบว่ามีแบบแผนการหลั่งเช่นเดียวกับการหลั่งเทสทอสเตอโรน คือ จะลดลงต่ำสุดในเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์ปริมาณเทสทอสเตอโรนในกบบลูฟร็อกทั้งเพศผู้และเพศเมียจะสูงตลอดทั้งปี โดยในเพศผู้และเพศเมียวัดได้สูงถึง 2,600 พิโดโมล/ลิตร ในเดือนเมษายนและมิถุนายนตามลำดับ ส่วนปริมาณเอสตราไดออลในกบบลูฟร็อกเพศเมียจะสูงตลอดปี วัดได้ 1,000-5,000 พิโดโมล/ลิตร จากผลที่ได้อาจสรุปได้ว่า เมื่อนำกบนาและกบบูลฟร็อกมาเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมเดียวกันในประเทศไทย กบนามีการสืบพันธุ์เป็นฤดูกาล คือ สืบพันธุ์เฉพาะในช่วงเดือนมีนาคมถึงตุลาคมส่วนกบบูลฟร็อกน่าจะมีการสืบพันธุ์ได้ตลอดทั้งปี en
dc.description.abstractalternative Attempts had been made to select and develop a good strains of the Rana tigerina were based on the quantitative characteristics of parent stocks form various places. They were out-crossing by cross and reciprocal cross. Growth of the off springs (F[subscript 1]) were followed. It was found that the average weights of the froglets, 1-3 months old from spawning are 5.386 +- 0.565 gm., 22.624 +- 2.684 gm., and 42.367 +- 7.160 gm., respectively. Sexes can be identified at the age of 4-6 months. Males of 4, 5 and 6 month old, weighted 118.295 +- 19.575 gm., 125.60 +- 35.627 gm., and 128.537 +- 40.923 gm. respectively, while females of the same ages weighted 146.810 +- 19.078 gm., 192.275 +- 35.592 gm. and 205.020 +- 40.506 gm., respectively. The same procedure had been applied to the Rana catesbeiana. A certain group of the offsprings showing a good growth rate and was separated and prepared to be used as the next parent stocks. The average weights obtained from 1 to 6 months old Rana catesbeiana were 9.996 +- 0.793 gm., 25.816 +- 1.847 gm., 44.340 +- 3.133 gm., 161.530 +- 22.399 gm., 175.750 +- 20.519 gm. and 205.440 +- 23.498 gm., respectively. In the culturing plan for meat production, the comparison of growth rate between Rana tigerina and Rana catesbeiana was done. Results showed that the female Rana tigerina and the Rana catesbeiana (of both male and female) at the age of 4-6 months have almost the same growth rate reaching an approximate weight of 5-6 frogs per kilogram. Annual sex steroids profiles in adult female and male frogs, Rana tigerina and Rana catesbeiana were elucidated. Trunk blood plasma were collected monthly in the year 1994. Plasma testosterone (T) and estradiol 17 beta (E[subscript 2]) were determined by radioimmunoassay. Plasma T levels in both male and female Rana tigerina were elevated from March through October. The highest value in the male was 3,000 pmol/L in May and 1,500-1,800 pmol/L in the female during April-June. Plasma T levels were as low as 100 pmol/L during November-February in both sexes. Similar profile was found in E[subscript 2]) secretion in the female. Plasma T levels in both male and female bullfrogs were high throughout the year. The highest T levels in the male and female were 2,600 pmol/L in April and June, respectively. Plasma E[subscript 2] levels in the female bullfrog were 1,000-5,000 pmol/L throughout the year. Results obtained indicated that the Rana tigerina exhibits breeding seasonality while the bullfrog Rana catesbeiana seems to be lacking of breeding seasonality when they were kept in the same environment in Thailand. en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 4887557 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject กบ -- การปรับปรุงพันธุ์ en
dc.title การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์กบเพื่อประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรมเกษตร : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative Stock selection and improvement of frogs for agro-industry en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Putsateep@yahoo.com
dc.email.author Prakong.T@Chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record