Abstract:
หอยทรายมีพิษ (Asaphis violascens) จากเกาะสีชังได้ถูกนำมาแยกเนื้อแบคทีเรียที่สร้างสารกีดขวางช่องโซเดียม โดยเก็บตัวอย่างใน 2 ระยะเวลาคือ ระยะพิษสูง (มกราคมถึงมิถุนายน) และระยะพิษต่ำ (กรกฎาคมถึงธันวาคม) ได้แยกเชื้อแบคทีเรียจากอวัยวะต่างๆ 7 ส่วนของหอยทรายคือ siphon, mantle, foot, gill, gonad, hepatopancreas และ stomach แล้วคัดแยกเชื้อที่สร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมโดยใช้วิธี tissue culture assay พบว่าจำนวนเชื้อที่สร้างสารพิษในหอยทรายและบริเวณที่เก็บตัวอย่างในระยะพิษสูงจะมีถึง 25% (19 ชนิดจากทั้งหมด 76 ชนิดที่แยกได้) แต่จำนวนเชื้อนี้ในตัวอย่างที่เก็บในระยะพิษต่ำมีเพียง 5.6% (5 ชนิดจากทั้งหมด 89 ชนิดที่แยกได้) ความแตกต่างกันนี้แสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียน่าจะมีส่วนในสาเหตุที่ทำให้หอยทรายมีพิษสูงขึ้น ผลการศึกษาพิษในตัวหอยทรายพบว่า ช่วงพิษสูงจะพบสารพิษนี้มากในส่วนของ mantle และ foot ส่วนในอวัยวะอื่นมีจำนวนพิษน้อยกว่าแต่เมื่อถึงระยะพิษต่ำพบว่าที่อวัยวะทั้งสองส่วนนี้จะไม่มีพิษอยู่เลย เชื้อแบคทีเรียที่แยกได้ในสอบระยะของความเป็นพิษมีบางสายพันธุ์ที่คล้ายคลึงกันคือเป็นแบคทีเรีย Genus Vibrio แต่สายพันธุ์อื่นนอกเหนือจาก Vibrio พบว่ามีความแตกต่างกัน จากการวิเคราะห์สารพิษที่ผลิตจากเชื้อแบคทีเรียและในหอยทรายโดยวิธี HPLC พบว่าเป็นสารในกลุ่ม Paralytic Shellfish Poisons และกลุ่ม Tetrodotoxins