DSpace Repository

รัฐกับการปฏิวัติทางสังคม : ศึกษากรณีการปฏิวัติลาว

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรชาติ บำรุงสุข
dc.contributor.author บัววร สุกลาแสง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-10-23T08:20:48Z
dc.date.available 2019-10-23T08:20:48Z
dc.date.issued 2555
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63771
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเอาทฤษฎีรัฐกับการปฏิวัติทางสังคมของ Theda Skocpol จากหนังสือเรื่อง States and Social Revolutions : A Comparative Analysis of France, Russia and China มาประยุคใช้ในการอธิบายถึงการปฏิวัติในลาวตั้งแต่ ค.ศ. 1893-1975 โดยจะทำการศึกษาใน 3 ระดับ คือ ระดับระหว่างประเทศ ระดับรัฐ และระดับปัจเจกบุคคล จากการศึกษาพบว่า ทฤษฎีรัฐกับการปฏิวัติทางสังคมของ Theda Skocpol ไม่สามารถที่จะใช้อธิบายการปฏิวัติลาวได้ เพราะว่า Skocpol ได้ทำการศึกษาเฉพาะแต่รัฐใหญ่ และทำการศึกษาเพียงระดับรัฐ ซึ่งมีสังคมที่เป็นระบบข้าราชการ-ชาวนา และมีความแตกต่างกับลาวที่สังคมเป็นชาวนา ที่ไม่มีระบบข้าราชการที่เข้มแข็ง ในระหว่าง ค.ศ. 1893-1954 ลาวเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และเกิดมีขบวนการเรียกร้องความเป็นเอกราชเพราะได้รับการกดขี่จากชนชั้นผู้ปกครองและเจ้าอาณานิคม ซึ่งแตกต่างกับการอธิบายของ Skocpol ที่ขบวนการปฏิวัติเกิดขึ้นเพราะความแตกแยกของขนชั้นนำ อย่างไรก็ตาม ในช่วงอาณานิคมฝรั่งเศสได้วางระบบข้าราชการที่เข้มแข็งกว่าขบวนการต่อต้านเป็นอย่างมาก จึงสามารถควบคุมและปราบปรามขบวนการต่อต้านได้ และอีกปัจจัยหนึ่งก็คือการที่ลาวต้องอยู่ในสถานการณ์ของความกดดันระหว่างประเทศ ทำให้รัฐอื่นสามารถเข้ามาแทรกแซงได้ ซึ่งแตกต่างกับประกฏการณ์ที่ Skocpol ได้อธิบายไว้แต่หลังจากปี ค.ศ. 1954 สหรัฐอเมริกาได้เข้าแทรกแซงลาว ผู้นำมีความแตกแยก บางส่วนสนับสนุนสหรัฐอเมริกา และแสวงหาผลประโยชน์จากสหรัฐฯ แต่ก็มีจำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมกับขบวนการปฏิวัติ ได้ทำให้ขบวนปฏิวัติเข้มแข็งยิ่งขึ้น จนสามารถจัดตั้งองค์กรทางการเมืองและมีเขตปกครองของตนเองได้ และประสบผลสำเร็จในการปฏิวัติลาวในปี ค.ศ. 1975 en_US
dc.description.abstractalternative This thesis tries to apply the theory of social revolution be Theda Skocpol to the Laotian Revolution (1893-1975). The analysis is based on three levels: international, state, and individual level. The research find out that Skocpol’s theory cannot explain the Laotian Revolution because she emphasize not only on strong-states but also on state-level. These state were peasant-bureaucratic societies which were different from the Laotian condition. The Laotian was weak and intervened by foreign power. From 1893-1954 the country was colonized by France. In this period, there were revolution movement because of conflict among elites and of colonial exploitation. These conditions were different from Skocpol’s theory. After 1954, the United States of America decided to intervene to Laos. The country was divided politically; some elites supported the U.S. because they could get benefit from the U.S. However some elites decided to join the revolution movement; they demanded independence for the country. In this period, the conflict spread out and the country was torn out by war. This condition helped to support the revolution movement to mobilize popular support among the people. Until 1975 the revolution movement succeeded. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject ปฏิวัติ -- ลาว en_US
dc.subject ลาว -- ประวัติศาสตร์ en_US
dc.subject ลาว -- การเมืองและการปกครอง en_US
dc.subject ลาว -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ en_US
dc.subject Revolutions -- Laos en_US
dc.subject Laos -- History en_US
dc.subject Laos -- Politics and government en_US
dc.subject Laos -- Foreign relations en_US
dc.title รัฐกับการปฏิวัติทางสังคม : ศึกษากรณีการปฏิวัติลาว en_US
dc.title.alternative State and social revolution : a case study of Lao revolution en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาเอก en_US
dc.degree.discipline รัฐศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Surachart.B@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record