dc.contributor.author |
ศิริพร ศรีวรกานต์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2019-10-24T03:11:31Z |
|
dc.date.available |
2019-10-24T03:11:31Z |
|
dc.date.issued |
2554 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63778 |
|
dc.description.abstract |
งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาวรรณกรรมเยาวชนภาษาเยอรมันคัดสรรซึ่งประพันธ์โดยนักเขียนพลัดถิ่น ในงานเขียนของคาริน กึนดิช เรื่อง ดินแดนแห่งชอกโกแล็ตกับกล้วย, เด็กสองคนมาถึงดินแดนต่างชาติ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเด็กสองคนพี่น้องซึ่งอพยพออกจากโรมาเนียมายังเยอรมนีพร้อมกับพ่อและแม่ของพวกเธอ ตัวบทเรื่องนำเสนอการปรับตัวของเด็กทั้งสองคนในสังคมเยอรมัน ส่วนตัวละครเอกในงานเขียนของดิเลค ซาพท์จิโอกลูเรื่องพระจันทร์กลืนดาว และเรื่องชิรินของนัสริน ซีเกอ มิได้ผูกโยงตนเองกับชาติพันธุ์และสามารถผูกสัมพันธ์ได้กับทุกคน ผู้วิจัยต้องการเสนอว่าผู้ประพันธ์ทั้งสองตั้งคำถามเชิงวิพากษ์อัตลักษณ์โดยใช้กลยุทธ์การต่อรองอัตลักษณ์และพื้นที่ทางสังคมของตัวละครเติร์กและตัวละครอิหร่านในสังคมเยอรมัน ในการใช้กลยุทธ์ดังกล่าวผู้ประพันธ์เสนอว่าความรุนแรงข้ามพ้นพรมแดนเชื้อชาติและส่งเสริมให้เยาวชนเยอรมันรุ่นใหม่จับกลุ่มเป็นเพื่อนกันโดยไม่แบ่งแยกเขาแยกเราซึ่งจะช่วยลดทอนความแปลกแยกระหว่างคนต่างวัฒนธรรมในสังคมเยอะมันได้ในระดับหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้นงานวิจัยเรื่องนี้ยังได้วิเคราะห์แก่นเรื่องว่าด้วยขันติธรรมระหว่างคนต่างวัฒนธรรมและสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นท่ามกลางความขัดแย้งในดินแดนตะวันออกกลาง ผู้ประพันธ์เน้นแก่นเรื่องดังกล่าวด้วยการบอกเล่าเรื่องราวที่เป็นประสบการณ์ของตัวละครเอกในนวนิยายเรื่องหินที่เปล่งเสียงและของขวัญจากคุณย่าซารา อันเป็นงานเขียนของฆอซี อับเดล เกาะดีร และเรื่องมือที่เต็มไปด้วยดวงดาวหลายดวงของราฟิค ชามิ ขณะเดียวกันผู้ประพันธ์วิพากษ์การตอบโต้โดยใช้ความรุนแรงและนำเสนอทางออกที่เป็นไปได้ในการคลี่คลายความขัดแย้งด้วยการให้ตัวละครเอกตระหนักรู้การอยู่ร่วมกันของต่างวัฒนธรรมแทนการแบ่งเขาแบ่งเรา รวมทั้งการส่งเสริมให้ทุกคนสามารถแสดงความคิดเห้นได้อย่างอิสระและมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและความคิดเห็นต่างๆ โดยปราศจากอุปสรรคใดๆ ทั้งสิ้น |
en_US |
dc.description.abstractalternative |
This research explores the selected German young adult novels written by the immigrant authors. Im Land der Schokolade und Bananen, Zwei Kinder kommen in ein fremdes Land by Karin Gundisch is a story of two siblings who migrated from Romania to Germany with their parents. The story also presents how the two children characters adapt themselves in a new society Whereas, the protagonists in Dilek Zapticioglu's, Der Mond isst die Sterne auf und Nasrin Siege's Shirin are unbound to ethnic identity and both of them are able to establish relationships with anyone. I argue that these two authors problematize ethnic identity through the strategies of identity negotiation and making social space for Turkish and Iranian migrants migrants in Germany. Besides, Dilek Zapticioglu deploy violence beyond ethnic boundary and encourages the German youths to have close relationships with one another in order to eliminate the sense of alienation among people of different cultures in Germany. Moreover, this research examines the theme of intercultural tolerance and the right to freedom of opinion and expression in the context of controversy in the Middle East in Ghazi Abdel-Qadir's Die sprechenden Steine and Das Geschenk von GroBmutter Sara and Rafik Schami's Eine Hand voller Sterne. In these novels, these themes are played out through narratives of experiences of the young protagonists. Also the authors criticize violent resistance, present possible solutions to the conflicts through the recognition of interracial co-existence instead of non-partisanship and support every individual to hold opinions without interference and to receive information and ideas without frontiers. |
en_US |
dc.description.sponsorship |
ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ประจำปีงบประมาณ 2553 |
en_US |
dc.language.iso |
th |
en_US |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en_US |
dc.subject |
วรรณกรรมสำหรับเด็ก -- เยอรมัน |
en_US |
dc.subject |
วรรณกรรมเยอรมัน |
en_US |
dc.subject |
วรรณกรรมกับสังคม |
en_US |
dc.subject |
การควบคุมทางสังคมในวรรณกรรม |
en_US |
dc.title |
มาตุภูมิ ปรากฏการณ์ของคนพลัดถิ่น ภาพลักษณ์สังคมเยอรมัน : การศึกษาวรรณกรรมเยาวชนของเยอรมันที่เขียนโดยผู้ประพันธ์พลัดถิ่น |
en_US |
dc.type |
Technical Report |
en_US |
dc.email.author |
Siriporn.Sr@Chula.ac.th |
|