Abstract:
เรื่องผีของเหม เวชกร เผยแพรjระหว่างปี 2476-2513 เป็นวรรณกรรมที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาแห่ง ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 และความเป็นสมัยใหม่ ทั้ง ในทางการเมืองและสังคมวัฒนธรรม แต่ความเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานี้ไม่ได้ทำให้สิ่ง เก่าหายไป สิ่งเก่ายังคงดำรงอยู่ในพื้นที่และเวลาเดียวกันกับสิ่งใหม่ ผีในเรื่องผีของเหมจึงเกิดขึ้นด้วย เงื่อนไขเช่นนี้ และฉายภาพให้เห็นความกลัว ความตึงเครียด และความขัดแย้งในสังคมไทยในสามประเด็น ประการแรกคือ สังคมเก่ายังคงอยู่ในสังคมใหม่ อย่างที่สองคือ เมืองและชนบทยังคงเป็นสองโลกที่ แตกต่างกัน และสิ่งเก่าที่ความเป็นสมัยใหม่ต้องการกำจัดให้หมดไปยังคงมีอยู่ในชนบท อย่างที่สามคือ ความรักแบบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความเสมอภาคและเสรีภาพต้องปะทะกับความรักแบบเก่าที่ยึดมั่น ในชนชั้นและการตัดสินใจของพ่อแม่ สภาวะเช่นนี้แสดงให้เห็นสิ่งที่มากไปกว่า “การปฏิวัติที่ไม่สมบูรณ)” แต่แสดงให้เห็น “การทำให้ทันสมัยที่ไม่สมบูรณ)” ด้วยความไม่สมบูรณ)เช่นนี้จึงทำให้เกิด “สิ่งตกค้าง” จากสังคมเก่าในสังคมใหม่ เรื่องผีของเหมจึงเป็นเรื่องผีที่หลอกหลอนคนที่อยู่ในสังคมใหม่ ความคิดใหม่นั่นเอง