DSpace Repository

ผลกระทบของความผิดมูลฐานเรื่องสมาชิกอั้งยี่ตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ต่อการประกอบธุรกิจในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ณัชพล จิตติรัตน์
dc.contributor.author กรกช อัมพุช
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-11-15T03:56:21Z
dc.date.available 2019-11-15T03:56:21Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63945
dc.description เอกัตศึกษา (ศศ.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561 en_US
dc.description.abstract จากการศึกษาความผิดมูลฐานเรื่องสมาชิกอั้งยี่ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พบว่าองค์ประกอบของอั้งยี่ที่สำคัญนั้นต้องเป็นคณะบุคคลโดยอนุมานได้ว่ามีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีการปกปิดวิธีการดำเนินการ และมีจุดมุ่งหมายที่มิชอบด้วยกฎหมาย แต่จุดมุ่งหมายนั้นจะเป็นจุดมุ่งหมายที่มิชอบตามกฎหมายอาญา หรือกฎหมายอื่นใดก็ได้ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ในการตราความผิดมูลฐานจะพบได้ว่าอั้งยี่นั้นมีขอบเขตกว้างเกินกว่าหลักเกณฑ์ในการกำหนดความผิดมูลฐาน อันได้แก่การกระทำความผิดอั้งยี่อาจจะไม่ได้มีรูปแบบลักษณะขององค์กรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ผลตอบแทนจากการทำความผิดฐานอั้งยี่ไม่ได้มีผลตอบแทนมูลค่าสูง รวมไปถึงการกระทำอาจไม่ได้มีลักษณะซับซ้อน และอาจจะไม่ได้เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐเสมอไป นอกจากนี้เมื่อศึกษาลักษณะของอั้งยี่เทียบเคียงกับการประกอบธุรกิจ พบว่าการประกอบธุรกิจไม่ว่าจะในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทคือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน โดยการดำเนินธุรกิจนั้นผู้ถือหุ้นมีเป้าหมายร่วมกันคือผลกำไร และมีการรวมตัวกันในลักษณะถาวรและมีความต่อเนื่องระยะเวลาหนึ่ง อันเป็นลักษณะของการเป็นสมาชิกของคณะบุคคลที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดฐานอั้งยี่ หากการประชุมคราวใดที่มีข้อตกลงผิดกฎหมายไม่ว่าจะเป็นกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นใดก็ตาม จะทำให้การประชุมคราวนั้นมีความผิดฐานอั้งยี่ ส่งผลให้เป็นความผิดมูลฐานและสามารถนำมาตรการฟอกเงินมาบังคับใช้ได้ มาตรการฟอกเงินที่นำมาบังคับใช้ที่สำคัญๆ ได้แก่มาตรการริบทรัพย์ทางแพ่ง ส่งผลให้ภาระการพิสูจน์ถูกผลักไปให้ผู้ถูกกล่าวหาในการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และมาตรฐานการพิสูจน์ที่ลดน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานการพิสูจน์ตามกฎหมายอาญากล่าวคือการพิสูจน์ให้ศาลเชื่อหรือควรจะเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดตามกฎหมายฟอกเงินจริง ที่ผ่านมาได้มีการนำความผิดมูลฐานเรื่องอั้งยี่มาบังคับใช้กับธุรกิจประเภททัวร์ศูนย์เหรียญ ซึ่งไม่เป็นไปตามหลักความได้สัดส่วนในเรื่องหลักแห่งความจำเป็นที่มีแนวคิดว่าหากมีมาตรการอื่นใดตั้งแต่ 2 มาตรการขึ้นไป ในการทำให้สามารถบรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ ให้เลือกใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนน้อยที่สุด เมื่อศึกษากฎหมายฟอกเงิน The Racketeer Influenced and Corrupt Organization (RICO), The Continuing Criminal Enterprise และ The Money Laundering Control Act 1986ของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึง Proceeds of Crime Act 1987ของประเทศออสเตรเลียจะพบว่ากรอบการบังคับใช้กฎหมายของทั้ง 2 ประเทศจะมีความเฉพาะเจาะจงมากกว่า ดังนั้นจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขความผิดมูลฐานเรื่องอั้งยี่ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีกรอบที่ชัดเจน และเป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน en_US
dc.language.iso th en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2018.15
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject อั้งยี่ en_US
dc.subject เงินตรา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ en_US
dc.subject อาชญากรรมทางธุรกิจ en_US
dc.title ผลกระทบของความผิดมูลฐานเรื่องสมาชิกอั้งยี่ตามพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ต่อการประกอบธุรกิจในประเทศไทย en_US
dc.type Independent Study en_US
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline กฎหมายเศรษฐกิจ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor natchapol.j@chula.ac.th
dc.subject.keyword การฟอกเงิน en_US
dc.subject.keyword กฎหมายฟอกเงิน en_US
dc.subject.keyword อาชญากรรม en_US
dc.subject.keyword ทัวร์ศูนย์เหรียญ en_US
dc.subject.keyword ธุรกิจผิดกฎหมาย en_US
dc.subject.keyword การริบทรัพย์ en_US
dc.identifier.DOI 10.58837/CHULA.IS.2018.15


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record