Abstract:
วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้คือ การศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมสำหรับกิจการไฟฟ้าในพื้นที่เกิดผลกระทบภายนอกเชิงลบในประเทศไทยโดยใช้กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนปากมูลและ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยแบ่งข้อมูลเป็น 2 ประเภทได้แก่ ข้อมูลปฐมภูมิที่ได้จากสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องกับ 2 กรณีปัญหา เช่น นักพัฒนาเอกเชน และ ชาวบ้านท้องถิ่น เป็นต้น และข้อมูลทุติยภูมิเป็นการสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น สื่อพิมพ์ และ เอกสารงานวิจัยผลการศึกษาพบว่า 2 แม้ว่ากรณีศึกษามีความสัมพันธ์ขัดแย้งระหว่าง 2 ผู้เล่นที่เหมือนกันได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กับชาวบ้านท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบภายนอกเชิงลบแต่ความสัมพันธ์ขัดแย้งทั้ง 2 กรณีมีต่างตามพื้นที่การผลิตที่เกิดขึ้นกรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนมูลพื้นที่การผลิตเป็นพื้นที่ของการประมงในแม่น้ำมูล ดังนั้นเขื่อนปากมูลไปขวางเส้นทางการอพยพของปลาในแม่น้ำมูล ทำให้ชาวบ้านสูญเสียอาชีพประมงดังนั้นขบวนการชาวบ้านเรียกร้องให้ประตูระบายน้ำถาวรเพื่อฟื้นคืนอาชีพประมงของตนเองกรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ พื้นที่การผลิตเป็นพื้นที่เหมืองถ่านดังนั้นขบวนการชาวบ้านจึงไม่ต้องการหยุดยั้งการผลิตของโรงไฟฟ้า แต่ต้องการค่าชดเชยเยียวยาและการอพยพย้ายออกจากพื้นที่มลพิษ