Abstract:
จากการขุดสำรวจที่ แหล่งโบราณคดีบ้านท่าโป๊ะที่จังหวัดกาญจนบุรีได้พบก้อนดินเผา และการศึกษาของ กรมศิลปากรที่ 3 อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา พบตัวอย่างที่เป็นอิฐก่อสร้างเป็นจำนวนมาก ซึ่ง หลักฐานเหล่าล้วนขาดการตีความอายุสัมพัทธ์ ทั้งจากการไม่มีร่องรอยการบันทึกหลงเหลือและ ศิลปะโดยรอบก็ สูญหายหักพังไปมาก จึงเป็นประเด็นปัญหาทางด้านโบราณคดีที่ต้องการพิสูจน์ทราบถึงอายุของอิฐเพื่อมา อธิบาย ถึงความแตกต่างทางกายภาพของอิฐ รวมถึงบอกสภาพแวดล้อมบรรพกาล ณ เวลาที่ก้อนดินเผานั้นถูกใช้งาน จาก หลักการการหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสงซึ่งใช้ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณของอิเล็กตรอนที่สะสมตัวใน หลุมกักเก็บ อิเล็กตรอนของโครงสร้างผลึกของแร่ ซึ่งเรียกว่า Equivalence dose (ED) Annual dose (AD) ประกอบกับการที่อิฐเป็นวัสดุก่อสร้างทางธรณีวิทยาชนิด หนึ่งที่สามารถพบแร่ควอตซ์ซึ่งเป็นแร่ที่มีคุณสมบัติในการเปล่งแสงเป็นองค์ประกอบ การหาอายุด้วยวิธีเปล่งแสง จึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการหาอายุอิฐได้ ผู้จัดทำโครงงานจึงทำการศึกษาตัวอย่างอิฐและก้อนดินเผา ทั้งสิ้น 7 ตัวอย่าง โดยทำการเตรียมตัวอย่างเพื่อทดลองหาค่า ED และ AD ด้วยเครื่อง TL/OSL reader และ Gamma-ray spectrometer จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ จึงสามารถสรุปลักษณะสภาพแวดล้อมการตั้งถิ่น ฐานของชุมชนโบราณบ้านท่าโป๊ะได้ และสนับสนุนสมมติฐานการเปลี่ยนรสนิยมใช้อิฐหนา 3 cm. ไปเป็น 6 cm. ในสมัยอยุธยาตอนกลาง และตอนปลาย จากการศึกษาในพื้นที่ศึกษา วัดกระจี พระราชวังโบราณฝ่ายใน และพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในคนละยุคสมัยกัน