Abstract:
เนื่องด้วยในปัจจุบันในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยและพื้นที่ข้างเคียงยังคงมีแนวรอย เลื่อนมีพลังอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น แนวรอยเลื่อนแม่ทา แนวรอยเลื่อนพะเยา โดยแนวรอยเลื่อน เหล่านี้ยังพาดผ่านไปยังเมืองสำคัญและแหล่งชุมชนอีกด้วย ซึ่งมีโอกาสเลื่อนตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหว และสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นได้ โดยจากการศึกษาของกูเตนเบิร์กและริกเตอร์ทำให้ทราบว่า พฤติกรรมแผ่นดินไหวในอดีตจะสามารถทำนายพฤติกรรมการเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้ ซึ่ง สามารถที่จะเตรียมการเฝ้าระวัง ป้องกัน และลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้ โดยแผ่นดินไหวที่มี สาเหตุจากธรรมชาติ จะเกิดจากการปลดปล่อยพลังงานเพื่อลดความเครียดที่สะสมไว้ภายในโลก ออกมาเพื่อปรับสมดุลของเปลือกโลกให้คงที่ โดยถ้าพื้นที่ใดที่มีความเค้นสะสมตัวสูง จะมีโอกาสเกิด แผ่นดินไหวในเวลาต่อมา จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ โดยทำการศึกษาค่าคงที่ b ในสมการกูเตนเบิร์ก และริกเตอร์ ซึ่งค่าคงที่ b มีความสัมพันธ์เชิงแปรผกผันกับความเค้น หมายความว่า พื้นที่ใดมีค่า b ต่ำ พื้นที่นั้นมีความเค้นสูง ซึ่งมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้ในอนาคต หากมีการปล่อยพลังงานจากความเค้น จากข้อมูลแผ่นดินไหวที่คัดกรอกแล้วนามาศึกษาค่า b แต่ละพื้นที่จะมีตัวแปรของจำนวนเหตุการณ์ แผ่นดินไหวที่นำมาใช้การวิเคราะห์ที่เหมาะสมแตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องมีการทดสอบย้อนกลับ โดย จากการศึกษาย้อนกลับพบว่า หากกวาดรัศมีใด ๆ ออกไปจากพื้นที่ตามจำนวนแผ่นดินไหว 35 เหตุการณ์ จะทำให้ค่าที่เหมาะสมที่สุดในการณ์วิเคราะห์ค่า b ของบริเวณภาคเหนือ ประเทศไทย และ พื้นที่ข้างเคียง เมื่อนำค่าดังกล่าวมาศึกษาต่อจะได้แผนที่การกระจายตัวค่า b ในปัจจุบัน พบว่ามี 3 พื้นที่ที่มีค่า b ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าพื้นที่เหล่านี้มีการสะสมความเค้นเพิ่มมากขึ้น จึงมีโอกาสเสี่ยง ที่จะเกิดแผ่นดินไหวในอนาคตได้