Abstract:
เทคโนโลยีการบำบัดน้ำมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การตกตะกอนทางเคมี การตกตะกอนโดยการรวมตัว กันของสารแขวนลอย การบำบัดทางชีวภาพ และการเสื่อมสภาพโดยการใช้แสง แต่วิธีการเหล่านี มีข้อเสีย มากมาย เช่นอุปกรณ์ราคาแพง การเติมสารเคมีในกระบวนการ รวมถึงใช้เวลานาน และอาจก่อให้เกิดมลพิษ ทุติยภูมิ งานวิจัยนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมมิกซ์เมทริกซ์เมมเบรนเพื่อกำจัดสีย้อมในน้ำเสียโดยวิธีการกรอง แบบอัลตราฟิลเตรชัน มิกซ์เมทริกซ์เมมเบรนเตรียมได้จาก Modified clay ร้อยละ 1 โดยน้ำหนัก/น้ำหนัก สารละลายพอลิซัลโฟนใน n-methyl-2-pyrrolidone (NMP) ร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก ส่วนการเตรียม Modified clay เตรียมได้จากเปลือกส้มเขียวหวานปริมาณ 5 กรัม โดยมีขนาดอนุภาคอยู่ที่ 300 ไมครอน ผสม กับ Clay (ดินสอพอง ตราชีววิถี จากบริษัท เซนต์ บิวตี คอสเมติก (ประเทศไทย) จำกัด) ปริมาณ 5 กรัม จากนั้นละลายด้วยสารละลาย NaOH ความเข้มข้น 0.1 โมลาร์ ปริมาตร 200 มิลลิลิตร กวนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นกรองเอาส่วนที่เป็นตะกอนไปเผาโดยใช้เครื่อง muffle furnace ที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 ชั่วโมง Modified clay จะถูกวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) เครื่อง วิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (XRD) เครื่องวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบและศึกษาโครงสร้างของโมเลกุลของ สาร (ATR-IR) และมิกซ์เมทริกซ์เมมเบรนจะถูกวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) เครื่องวิเคราะห์การเลี้ ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (XRD) เครื่องวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบและศึกษาโครงสร้างของ โมเลกุลของสาร (ATR-IR) เครื่องวัดมุมสัมผัสของหยดน้ำ (Contact angle) และเครื่องทดสอบแรงดึง (Universal testing machine) ในการทดสอบสมรรถนะของเมมเบรนในการกรองจะใช้การเปรียบเทียบ ระหว่างเมมเบรนพอลิซัลโฟนที่เติม Clay/Modified clay ในปริมาณที่ต่างกัน และความเข้มข้นของสารขาเข้า และเพอร์มิเอตจะทราบได้ด้วยการทดสอบโดยใช้เครื่องอัลตราไวโอเลต วิสิเบิล สเปคโทรโฟโตมิเตอร์ (UV vis spectrophotometer)