Abstract:
การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินกับการเปลี่ยนแปลงสังคมสิ่งมีชีวิตในระยะ ยาวยังมีน้อยทำให้ขาดความเข้าใจในการวางแผนการอนุรักษ์ การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการ เปลี่ยนแปลงสังคมนกในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่แตกต่างกัน 4 รูปแบบ (ป่าชุมชน นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชน) ในตำบลไหล่น่าน จังหวัดน่าน เนื่องจากนกเป็นสัตว์กลุ่มหนึ่งที่ตอบสนอง ต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมได้เร็ว สำรวจนกด้วยวิธีสำรวจตามจุด (point count) โดยเก็บข้อมูลนก 2 ฤดูกาล ได้แก่ ฤดูฝน (กรกฎาคม–สิงหาคม 2561) และฤดูแล้ง (ธันวาคม 2561) และวิเคราะห์การ เปลี่ยนแปลงสังคมนกโดยเปรียบเทียบกับการศึกษาในฤดูแล้งของปีก่อนหน้า ผลการศึกษาพบนกรวม 13 อันดับ 44 วงศ์ 48 สกุล 64 ชนิด เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าป่าชุมชน นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชน พบนกเฉลี่ย 10 ± 4, 17 ± 3, 15 ± 4 และ 17 ± 1 ชนิด ตามลำดับ ซึ่งจำนวนชนิดที่พบใน แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.05) เมื่อพิจารณาความชุกชุมของนกพบว่า ป่าชุมชน นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชน มีความชุกชุมเฉลี่ยทั้งสองฤดูกาลเท่ากับ 30 ± 17, 100 ± 37, 46 ± 10 และ 131 ± 30 ตัว ตามลำดับ โดยความชุกชุมเฉลี่ยในแต่ละพื้นที่มีค่าแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.05) สำหรับการเปลี่ยนแปลงของชนิดนกและความชุกชุม พบว่าการศึกษา ก่อนหน้าพบนกรวม 59 ชนิด แต่ในการศึกษานี้พบนกในฤดูแล้งเพียง 51 ชนิด ซึ่งมีจำนวนชนิดนกที่ไม่พบใน การศึกษาครั้งนี้จำนวน 18 ชนิด เช่น นกปรอดทอง Pycnonotus atriceps นกคัดคูสีม่วง Chrysococcyx xanthorhynchus และพบชนิดนกใหม่ซึ่งไม่พบในการสำรวจก่อนหน้าจำนวน 10 ชนิด เช่น นกเขียวก้านตองหน้าผากทอง Chloropsis aurifrons นกยางไฟธรรมดา Ixobrychus cinnamomeus เป็นต้น ทั้งนี้พื้นที่นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชนมีจำนวนชนิดนกลดลง แต่ในพื้นที่ป่าชุมชนมี จำนวนชนิดนกเพิ่มขึ้น 2 ชนิด ในส่วนของความชุกชุมของนกพบว่าทุกพื้นที่มีความชุกชุมของนกเพิ่มขึ้น โดย ป่าชุมชน นาข้าว สวนเกษตรริมน้ำ และพื้นที่ชุมชน มีความชุกชุมของนกเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 3 ± 2, 59 ± 42, 25 ± 18 และ 105 ± 74 ตัว ตามลำดับ จากการศึกษาสรุปได้ว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ ที่ดินและการรบกวนที่มีระยะเวลานานขึ้น ส่งผลให้สังคมนกมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านความหลากชนิดและ ความชุกชุม