dc.contributor.advisor | มัณทนา โอภาประกาสิต | |
dc.contributor.author | ณัฐชยา พัฒนสุทธิรัตน์ | |
dc.contributor.author | อาภัสรา พัฒนศิริ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-03-10T03:58:41Z | |
dc.date.available | 2020-03-10T03:58:41Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64319 | |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | ปัญหาน้ำมันดิบรั่วลงสู่ทะเลส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ งานวิจัยจึงนี้มุ่งเน้นพัฒนาโฟมดูดซับน้ำมันจากพอลิพรอพิลีน โดยใช้น้ำเป็นสารทำให้ฟูและแป้งข้าวโพดเป็นตัวพาน้ำ ขึ้นรูปโดยเครื่องอัดรีดชนิดเกลียวคู่ โดยศึกษาผลของปริมาณแป้ง สภาวะที่ใช้ขึ้นรูป และเกรดของพอลิพรอพิลีนต่อสมบัติของโฟม PP/TPS จากสัณฐานวิทยา ความหนาแน่น สัดส่วนการขยายตัวและค่า die swell ของโฟม PP (P401S; MFI 2 กรัม/ 10 นาที)/TPS ที่เตรียมด้วยปริมาณแป้งร้อยละ 20 – 40 (โดยน้ำหนักของ PP) สามารถสรุปได้ว่า ปริมาณแป้งที่เหมาะสมคือร้อยละ 30 ซึ่งโปรแกรมการตั้งอุณหภูมิขึ้นรูปที่มีสัดส่วนของโซน gelatinization : mixing : cooling ที่เหมาะสมคือ 3:4:4 โฟมที่เตรียมได้จาก P401S มีลักษณะแข็ง มีความเป็นรูพรุนต่ำ ความหนาแน่นอยู่ในช่วง 0.86 – 1.43 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ความสามารถในการดูดซับน้ำมันร้อยละ 0.8 – 1.5 เมื่อทดลองปรับเปลี่ยนเกรด PP เป็นชนิดที่มีค่า MFI ระหว่าง 12 – 60 กรัม/ 10 นาที (P700J, P750J และ P900J) พบว่า สามารถเตรียมโฟมที่มีความหนาแน่นที่ต่ำกว่า โดยมีค่าในช่วง 0.39 - 0.64 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มีความสามารถในการดูดซับน้ำมันเพิ่มขึ้นอยู่ในช่วงร้อยละ 15.9 - 27.3 ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางความร้อนด้วยเทคนิค Differential scanning calorimetry พบว่าพอลิพรอพิลีนที่มีโครงสร้าง และดัชนีการไหลที่แตกต่างกันมีผลต่อความสามารถในการเข้ากันได้ของแป้ง เมื่อพิจารณาเส้นโฟมที่ถูกอัดรีดผ่านดาย พบว่าเสถียรภาพทางรูปร่างของโฟมขึ้นอยู่กับดัชนีการไหล โดยเสถียรภาพของรูปร่างจะดีกว่าในสูตรใช้พอลิพรอพิลีนที่มีค่า MFI ไม่สูงเกินไปนัก | en_US |
dc.description.abstractalternative | Oil spills have created huge environmental and ecological effects. Therefore, this study is aimed to develop polypropylene foam for using as oil absorbent. Foams were prepared with twin screw extruder using water as a physical blowing agent and starch as a water carrier. Effects of starch content, extruder’s temperature profile and PP grades were investigated. It can be concluded from the results of morphology, density, expansion ratio and die swell of PP (P401S; MFI 2 g/10min)/TPS foams, prepared with starch content 20 – 40 (% by weight of PP), that 30% starch is the most suitable. Temperature profile of extruder with the ratio of gelatinization zone : mixing zone : cooling zone of 3:4:4 is the most effective condition. PP foams from P401S are hard, high density (0.86-1.43 g/cm3), low expansion ratio and %oil absorption (0.8-1.5%). It was found that PP foams with much lower density (0.39-0.64 g/cm3) can be achieved by using PP with MFI ranging from 12-60 g/10 min (P700J, P750J and P900J). Moreover, foams with much higher % oil absorption, 15.9-27.3%, is successfully produced. Results from differential scanning calorimetry indicated that compatibility between PP and starch depends strongly on PP structure and MFI. By monitoring shape of extrudate after exit from die, it was found that MFI of PP affects on shape stability. PP with not too high MFI can fabricate foams with good shape stability. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | โฟม PP-TPS ที่ใช้น้ำเป็นสารช่วยฟูทางกายภาพ | en_US |
dc.title.alternative | PP-TPS foam using water as a physical blowing agent | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | mantana.o@chula.ac.th |