DSpace Repository

เส้นใยจากพอลิเมอร์ผสมพีแอลเอ/พีบีเอสเสริมแรงด้วยแกรฟีนสำหรับงานต้านไฟฟ้าสถิตย์

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประณัฐ โพธิยะราช
dc.contributor.author กนกพันธุ์ พานิชสมบัติ
dc.contributor.author วิศวชิต ปานบางพงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-10T09:45:40Z
dc.date.available 2020-03-10T09:45:40Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64323
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract ปัจจุบันอุตสาหกรรมสิ่งทอมีความพยายามที่จะปรับปรุง พัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอให้ประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ และยังคำนึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเส้นใยยังคงมีสมบัติที่ดี มีความแข็งแรง ยืดหยุ่น รวมถึงการตอบสนองต่อการใช้งานเฉพาะด้าน อาทิ สิ่งทอที่ช่วยลดการเกิดไฟฟ้าสถิต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสมบัติโดยรวมของผลิตภัณฑ์สิ่งทอเมื่อถูกนำไปใช้งาน ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำพลาสติกชีวภาพ (bioplastic) ได้แก่ พอลิแล็กทิกแอซิด (poly(lactic acid), PLA) และพอลิบิวทีลีนซักซิเนต (poly(butylene succinate), PBS) มาผลิตเป็นเส้นใยผสม เนื่องจากในปัจจุบันแนวโน้มความสนใจของผู้ใช้ให้ความสำคัญกับวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการปรับปรุงสมบัติด้านความแข็งแรง เสถียรภาพทางความร้อน รวมถึงสมบัติต้านทานการเกิดไฟฟ้าสถิต งานวิจัยนี้ได้ศึกษาอัตราส่วนระหว่างพอลิแลกทิกแอซิดและพอลิบิวทีลีนซักซิเนต (100:0, 95:5, 90:10, 80:20) และศึกษาปริมาณการเติมแกรฟีนในพอลิเมอร์ผสม (ร้อยละ 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 ) พบว่าที่อัตราส่วนพอลิเมอร์ผสมที่ 90:10 มีสมบัติเชิงกลที่เหมาะสม พบอนุภาคของพอลิบิวทีลีนซักซิเนตกระจายตัวในพอลิแลกทิกแอซิด มีขนาดที่ใกล้เคียงกันและกระจายตัวกันอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อเติมแกรฟีนพบว่าที่ปริมาณร้อยละ 0.5 มีความทนแรงดึง ประกอบกับร้อยละการยืดตัวที่ดี เนื่องจากเป็นอัตราส่วนที่แกรฟีนสามารถกระจายตัวในเมทริกซ์ได้ดีและมีส่วนช่วยในการเหนี่ยวนำให้เกิดผลึก นอกจากนี้ปริมาณแกรฟีนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้มีอุณหภูมิการสลายตัวสูงขึ้น และสมบัติทางไฟฟ้าดีขึ้นเมื่อเทียบกับเส้นใยพอลิเมอร์ผสมที่ไม่มีการเติมแกรฟีน en_US
dc.description.abstractalternative Textile industries effort to develop textile products for better performance in order to increase value of textiles and also consider about eco-friendly products. The fibers should be strength, flexible and other properties such as anti-static properties. This research aims to use biopolymer as poly(lactic acid) (PLA) and poly(butylene succinate) (PBS) blended for eco-friendly fibers in various PLA:PBS ratios (100:0, 95:5, 90:10, 85:15 and 80:20). The blend fibers were mixed with grapheme particles in various ratios (0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 wt.%) for improve mechanical, thermal and electrical properties. The results showed the optimal ratio of PLA:PBS is 90:10 which have high mechanical properties because PBS is well distributions and disperses in PLA matrix. The PLA/PBS blends filled with graphene 0.5 wt.% have high tensile strength more than neat.PLA/PBS because graphene is well disperse in polymer matrix and induce the polymer chains to rearrange for crystallization. Moreover, the increased amount of graphene also increase thermal and electrical properties. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title เส้นใยจากพอลิเมอร์ผสมพีแอลเอ/พีบีเอสเสริมแรงด้วยแกรฟีนสำหรับงานต้านไฟฟ้าสถิตย์ en_US
dc.title.alternative PLA/PBS blend fiber reinforced with graphene for anti-static application en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Pranut.P@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record