DSpace Repository

การขึ้นรูปเซรามิกไฮดรอกซิอะพาไทต์โครงสร้างพรุนตัวด้วยเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธนากร วาสนาเพียรพงศ์
dc.contributor.author ชญานิษฐ์ ศรีประดิษฐ์
dc.contributor.author พิมพาภรณ์ ใจเพ็ชร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-10T09:56:22Z
dc.date.available 2020-03-10T09:56:22Z
dc.date.issued 2561
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64324
dc.description โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 en_US
dc.description.abstract งานวิจัยนี้สนใจที่จะศึกษาทดลองการทำวัสดุโครงสร้างพรุนตัวเพื่อใช้ทางการแพทย์ ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติระบบฉีดเส้นพลาสติก (Fused Deposition Modeling) ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบันและมีราคาไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติประเภทอื่น ๆ โดยเราจะเตรียมเส้นพลาสติกที่ใช้เซรามิกผสมกับเทอร์โมพลาสติกชนิดที่ละลายน้ำได้และละลายน้ำไม่ได้ ทำให้สามารถขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน 3 มิติ และชิ้นงานสามารถคงรูปได้ โดยการกำจัดวัสดุเชื่อมประสานที่ละลายน้ำได้ด้วยการละลายน้ำก่อน แล้วจึงนำไปเผากำจัดวัสดุเชื่อมประสานที่เหลือ เพื่อทำให้การยุบตัวน้อยลง โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเตรียมเซรามิกพรุนไฮดรอกซิอะพาไทต์สำหรับงานชิ้นส่วนกระดูกด้วยการพิมพ์ 3 มิติระบบฉีดเส้นพลาสติก และเพื่อลดต้นทุนในการผลิตชิ้นส่วนทางการแพทย์ ให้สามารถผลิตชิ้นส่วนกระดูกที่จำเพาะเจาะจงต่อผู้ป่วยแต่ละรายได้ โดยงานวิจัยนี้มีการทดลองโดยใช้อัตราส่วนในการทำเส้นใยสำหรับขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยใช้อัตราส่วนของไฮดรอกซิอะพาไทต์และวัสดุเชื่อมประสาน คือ 25 : 75 โดยปริมาตร จากผลการวิจัยพบว่าการผสมด้วยวิธีการผสมเปียกเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการทำเส้นใยเนื่องจากเส้นที่ได้มีความเป็นเนื้อเดียวกัน สามารถนำมาใช้ในการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้ สำหรับการทดสอบคุณสมบัติของชิ้นงานพบว่า ชิ้นงานหลังเผาคงรูปได้ดี ไม่เกิดการโก่งตัว โค้งงอ แต่ชิ้นงานไม่มีความแข็งแรงจึงไม่สามารถหาค่าได้ และมีความพรุนตัวแต่ยังไม่มากพอ จากผลทดสอบเหล่านี้พบว่ายังไม่สามารถนำไปใช้ในการขึ้นรูปวัสดุโครงสร้างพรุนตัวสำหรับการนำไปใช้เป็นโพรงเลี้ยงเซลล์ได้เนื่องจากต้องความพรุนตัวและความแข็งแรงที่สูงกว่านี้ en_US
dc.description.abstractalternative This study is interested in studying and experimenting with making porous structural materials for medical with 3D printing technology, Fused Deposition Modeling, which is the most popular 3D printer currently available because it has very low price compared to other 3D printers. We will prepare filaments that use ceramics mixed with soluble thermoplastics and not soluble in water. Making it able to be molded into 3-dimensional workpieces and can be maintained by eliminating soluble welding materials. First dissolving the water and then sintering to eliminate the remaining welding materials to make the collapse less. The first objective of this research is to study the preparation of porous hydroxyapatite ceramics for bone parts by 3D printing, plastic injection molding system. The second is to reduce the cost of producing medical parts to be able to produce bone parts that are specific to each patients In this research, the experiment was conducted the forming with 3D printers using the ratio of hydroxyapatite and the welding material at 25 : 75 by volume. Found that wet mixing is the best way to make fibers because homogeneous and can be used with 3D printer. For testing the specimen properties, it was found that the work pieces have well shape stability but it not strong, cannot be obtained, and have not enough porosity. It is still not possible to be used in forming a porous structural material for use as a cell cavity due to the higher porosity and strength requirement. en_US
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.title การขึ้นรูปเซรามิกไฮดรอกซิอะพาไทต์โครงสร้างพรุนตัวด้วยเทคนิคการพิมพ์ 3 มิติ en_US
dc.title.alternative Fabrication of porous structured hydroxyapatite ceramics by 3D printing technique en_US
dc.type Senior Project en_US
dc.email.advisor Thanakorn.W@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record