dc.contributor.advisor | ภัสสร ลิมานนท์ | |
dc.contributor.advisor | สุมนา ชมพูทวีป | |
dc.contributor.author | กิริยา ลาภเจริญวงศ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-03-17T07:46:56Z | |
dc.date.available | 2020-03-17T07:46:56Z | |
dc.date.issued | 2543 | |
dc.identifier.isbn | 9741305672 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64368 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดูในเขตเมืองและเขตชนบท ของจังหวัดราชบุรี รวมทั้งเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกลุ่มตัวอย่างคือสตรีที่มีอายุตั้งแต่4 0 -5 9 ปี จำนวน 600 คน สุ่มเลือกจาก 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม โดยแยกเป็นเขตเมือง 300 คน เขตชนบท 300 คน เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผลการศึกษาภาพรวม พบว่า สตรีตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 40-44ปี สตรีจำนวนสามในสี่มีสถานภาพสมรสคู่ ผู้ที่ไม่มีการศึกษาและจบการศึกษาระดับประถมศึกษามีมากกว่าครึ่งของสตรีที่เป็นตัวอย่างสตรีในเขตเมืองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับราชการและรัฐวิสาหกิจ รายได้ครอบครัวเฉลี่ย 15,330 บาท ส่วนใหญ่มีรายได้ 5,000 บาท และน้อยกว่า ต่อเดือน สตรีจำนวนครึ่งหนึ่งยังคงมีประจำเดือน อายุเฉลี่ยเมื่อหมดประจำเดือน 48.9 ปี สตรีเกือบครึ่งยังไม่รู้จักคลินิกวัยทอง สตรีส่วนใหญ่มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับกลาง สตรีในเขตเมืองมีความรู้เกี่ยวกับภาวะหมดระดูและมีการดูแลสุขภาพตนเองดีกว่าสตรีในเขตชนบท เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และสังคม และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู พบว่า เขตที่อยู่อาศัย การศึกษา อาชีพ สถานภาพสมรสรายได้ ระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะหมดระดู แหล่งความรู้ที่สตรีได้รับเกี่ยวกับภาวะหมดระดู จำนวนแหล่งความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับภาวะหมดระดู ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะหมดระดู และประเภทของสถานบริการ มีผลทำให้เกิดความแตกต่างในพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐาน ขณะที่ตัวแปรด้านอายุไม่ เป็นไปตามสมมุติฐาน กล่าวคือ สตรีที่มีอายุมากกว่ามีการดูแลสุขภาพดีกว่าสตรีที่มีอายุน้อย ส่วนระดับปัญหาสุขภาพทางร่างกายและจิตใจที่เกี่ยวเนื่องจากการหมดระดู ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู | |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study was to investigate health care behavior during menopause period of women in rural-urban areas, Ratchaburi province. The relationship between health care behavior and demographic, socio-economic and other health-related factors were also examined. Six hundred women of all marital status, aged 40-59 were randomly selected from 3 districts; Muang, Ban Pong, and Potharam to be interviewed through the use of questionnaire by health personnel. Results revealed that majority of sampled women were in age group of 40-44 years. Three-fourths were married with presence of spouses, more than half had only primary education or no education at all. Majority of urban women was employed in government service or State Enterprise. Hie majority of women had average monthly income of 5,000 Bath or less with the average of family income of 15,330 Bath. More than half of women still have regular menstruation. The average age of menopause was 48.9 years. More than half did not know about menopause clinic. Majority of women obtained middle-level scores on health care behavior. Urban women were better than their rural counterparts in terms of knowledge on menopause and health care. When relationship between health care behavior and demographic socio-economic and other health factors was analyzed, it was found that residential areas, education, occupation, marital status, income, knowledge on menopause, sources of knowledge, attitudes toward menopause and type of health care services affected women’s health care behavior, as hypothesized while age factor did not support the hypothesis. Factors on physical and mental health had no effect on women’s health care behavior. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject | พฤติกรรมสุขภาพ | |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | |
dc.subject | วัยหมดระดู | |
dc.subject | สตรี -- สุขภาพและอนามัย | |
dc.subject | สตรี -- ไทย | |
dc.subject | การปรับพฤติกรรม | |
dc.title | พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของสตรีวัยหมดระดู : กรณีศึกษาในเขตเมืองและชนบท จังหวัดราชบุรี | |
dc.title.alternative | Women's health case behavior during menopause period : a case study of rural-urban areas in Ratchaburi Province | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | ประชากรศาสตร์ | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |