DSpace Repository

การย้ายถิ่นของชาวชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตเทศบาล เมืองนครปฐม หลังภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุภางค์ จันทวานิช
dc.contributor.author กิตติ วรกิจวัฒน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-22T09:04:53Z
dc.date.available 2020-03-22T09:04:53Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9743470492
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64395
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสาเหตุ กระบวนการและผลกระทบของการย้ายถิ่นของชาวชนบทภาคตะวันออก เฉียงเหนือ เข้าสู่เขตเทศบาลเมืองนครปฐมหลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรบข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยการสำรวจประชากรจำนวน 100 คน โดยแบ่งคำถามเป็น 3 ส่วนคือ ข้อมูลส่วนตัว เช่น อายุ เพศ การศึกษา ภูมิลำเนา อาชีพเดิม ส่วนที่สอง คือ สาเหตุที่ทำให้ย้ายถิ่นเข้ามาสู่เขตเทศบาลเมืองนครปฐม เช่น การไม่มีโรงงานหรือมีแหล่งอาชีพในท้องถิ่นเดิม ความแห้งแล้งตามธรรมชาติ การถูกชักจูงจากบุคคลที่รู้จักให้เกิดการย้ายถิ่น และส่วนที่สาม เป็นข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการดำรงชีวิตในเขตเทศบาลนครปฐม โดยคำถามทั้งหมดเป็นคำถามปลายปิด หลังจากนั้นจึงคัดเลือกกรณีศึกษาด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ให้ครอบคลุมความหลากหลายทางอาชีพ เพื่อสัมภาษณ์แบนไม่เป็นทางการและแบบเจาะลึก จำนวน 10 คน โดยมีระยะเวลาในการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2543 ถึงกรกฎาคม 2543 ผลการศึกษาในด้านสาเหตุการย้ายถิ่นพบว่า ประกอบด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจมีส่วนในการผลักดันให้เกิดการย้ายถิ่น นอกจากนี้ ปัจจัยทางสังคม เช่น การที่พ่อแม่แยกทางกัน การติดหนี้การพนัน การหย่าร้าง รวมถึงค่านิยมในการไปทำงานในเมือง ใหญ่ โดยผ่านเครือข่ายทางสังคม เช่น ญาติที่น้อง เพื่อนหรือคนรู้จักในการให้คำแนะนำและบอกเล่าประสบการณ์ที่เคยได้รับมา ในด้านการศึกษาผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่จะจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา และมีฐานะทางครอบครัวค่อนข้างยากจนในการที่จะด้องเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวจำนวนมาก ในด้านกระบวนการย้ายถิ่น ผลการศึกษาพบว่า ผู้ย้ายถิ่นโดยมากจะมีประสบการณ์ในการย้ายถิ่นค่อนหน้าที่จะย้ายเข้ามาในเขตเทศบาลนครปฐม โดยย้ายไปยังตัวอำเภอ หรือจังหวัดใกล้เคียงกับภูมิลำเนาของตนเอง นอกจากนี้ยังพบว่าทุกขั้นตอนของการย้ายถิ่นจะมีผู้ให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา สำหรับสภาพการดำรงชีวิตและผลกระทบของผู้ย้ายถิ่น ผลการศึกษาพบว่า ผู้ย้ายถิ่นเมื่อย้ายเข้ามาแล้วจะประกอบอาชีพที่แตกต่างไปจากอาชีพเดิมของตน เช่น เก็บของเก่าขาย, พนักงานรับจ้าง,ขายไอศกรีม, ถีบสามล้อ ในส่วนของผลกระทบของภาวะวิกฤตเศรษฐกิจพนว่าถึงแม้ว่าก่อนหน้าเกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจผู้ย้ายถิ่นย้ายถิ่นเข้าไปยังตัวอำเภอหรือจังหวัดใกล้เคียงและเป็นการย้ายถิ่นในระยะเวลาสั้นๆ โดยมีปัจจัยมาจากความแห้งแล้งตามธรรมชาติจนไม่สามารถนำที่ดินที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ส่วนการย้ายถิ่นที่เกิดขึ้นในเขตเทศบาลเมืองนครปฐมจะเป็นการย้ายถิ่นที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นระยะเวลานานและมีแนวโน้มถาวรมากขึ้นทำให้เกิดการขยายจำนวนของคนเร่ร่อนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเกิดลักษณะอาชีพในรูปแบบใหม่
dc.description.abstractalternative This paper aims to study the causes, process and impact of migration of the northeast peasants to Nakhonpathom municipality after the economic crisis through an application of qualitative research. The study was based on the number of 100 respondents by using the questionnaires that comprised of 3 parts i.e. personal data such as age, gender, education, domicile, occupation causes of migration of the Northeast peasants to Nakhonpathom Municipality include lack of job opportunity in the Northeast occupation, draught and reason to migrate living style of the residents of Nakhonpathom Municipality The study was conducted by asking open-ended questions to the selected 10 respondents as case studies. They represent a variety of occupations. Data collection was carried out from May 2000 to July 2000. The result indicated that causes of migration include economic and social factors for social factors, the problem ranged from broken home, debts arisen from gambling and divorce to the social value put on migrating for job opportunities in big city. This social value has been developed based on information provided through the social network of family members, relatives, friends and acquaintances. From an education perspective, the majority of migrants finished the primary education and are from poor and large families. Moreover, the respondents received support and assistance throughout the whole process of migration from their social networks. The study of migration process showed that most migrants had previous migration experience prior to migrating to Nakhonpathom Municipality such as moving to the town, district or neighboring areas. After migration to Nakhonpathom, occupations adopted include collecting used items for sales, wage labor, selling ice-cream, riding tricycle, etc. Therefore, the impact of economic crisis on migration was that the migration pattern became more longterm and more permanent. It also increased a number of homeless and new ways of earning.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.subject การย้ายถิ่นภายในประเทศ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
dc.subject ชาวชนบท -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
dc.subject เทศบาลเมืองนครปฐม
dc.subject Migration, Internal -- (Thailand, Northeastern)
dc.subject Peasants -- Thailand, Northeastern)
dc.title การย้ายถิ่นของชาวชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่เขตเทศบาล เมืองนครปฐม หลังภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ
dc.title.alternative Migration of northeast peasants to Nakhon Pathom municipality after the economic crisis
dc.type Thesis
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สังคมวิทยา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record