Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการอธิบายการมองโลกในแง่ดี และกลวิธีการเผชิญปัญหาของนิสิตนักศึกษา 2. เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างเพศ ระดับสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน ระบบการเรียนของสถานศึกษา: ระบบเปิด-ระบบปิด และสาขาวิชาที่เรียนที่สัมพันธ์ดับรูปแบบการอธิบายการมองโลกในแง่ดีและกลวิธีการเผชิญปัญหากลุ่มตัวอย่างคือนิสิตนักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ดัดเลือกโดยการสุ่มหลายขั้นตอนจำนวน 743 คน จัดเข้าสู่กลุ่มที่มีรูปแบบการอธิบายในลักษณะการมองโลกในแง่ดีและลักษณะการมองโลกในแง่ร้ายจำนวน 411 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามรูปแบบการอธิบายสาเหตุ และ แบบวัดการเผชิญปัญหาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 3 ทาง และวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีของ Dunnett's T3 ผลการวิจัยพบว่า 1. นิสิตนักศึกษา ใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการดับปัญหา และแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมมาก และใช้กลวิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีน้อย 2. ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนสามทางพบผลหลักของรูปแบบการมองโลก เพศ สาขาวิชาที่เรียน ระบบการเรียนของสถานศึกษามีนัยสำคัญ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรบางตัวแปรมีนัยสำคัญ ดังนี้ 2.1 นิสิตนักศึกษาที่มองโลกในแง่ดีใช้การเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการดับปัญหามากกว่า และใช้การเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางลังคมและแบบหลีกหนีน้อยกว่านิสิตนักศึกษาที่มองโลกในแง่ร้าย 2.2 นิสิตนักศึกษาที่มีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน ใช้การเผชิญปัญหาทั้ง 3 แบบ ไม่แตกต่างกัน 2.3 นิสิตนักศึกษาหญิงใช้การเผชิญปัญหาแบบแสวงหาการสนับสนุนทางสังคมมากกว่านิสิตนักศึกษาชาย และนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยระบบปิดใช้การเผชิญปัญหาดังกล่าวมากกว่านิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยระบบเปิด ส่วนการเผชิญปัญหาอีก 2 แบบ กลุ่มดังกล่าวใช้ไม่แตกต่างกัน 2.4 นิสิตนักศึกษาสาขาวิชามนุษยศาสตร์ใช้การเผชิญปัญหาแบบหลีกหนีมากกว่านิสิตนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ แต่ไม่แตกต่างจากนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศาสตร์ 2.5 นิสิตนักศึกษาที่มองโลกในแง่ร้ายสาขาวิชามนุษยศาสตร์ใช้การเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี มากกว่า นิสิต นักศึกษาที่มองโลกในแง่ดีสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และนิสิตนักศึกษาในมหาวิทยาลัยปิดพบว่ากลุ่มที่มองโลกในแง่ร้ายใช้วิธีการดังกล่าวมากกว่ากลุ่มที่มองโลกในแง่ดี และกลุ่มที่อยู่ในสาขาวิชามนุษยศาสตร์ใช้วิธีการดังกล่าวมากกว่ากลุ่มที่อยู่ใน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์