Abstract:
การคัดแยกรา Phytophthora meadii จากไอโซเลตที่มี Phytophthora สปีชี่ย์อื่นผสมอยู่ซึ่งมาจากจังหวัดตราด และ ระยอง โดยแยกได้ทั้งหมด 3 ไอโซเลต คือ L116-1-1, 77-1-2-2 และ 77-1-2-4 เมื่อศึกษาสัณฐานวิทยา ได้แก่ รูปแบบโคโลนี แบบกระจาย ลักษณะซูโอสปอร์แรงเจียมมี papillum ชัดเจน มีรูปร่างแบบ obpyriform ขนาด ยาว 39.42 ถึง 47.69 ไมโครเมตร (เฉลี่ย 43.56 ไมโครเมตร) กว้าง 27.95 ถึง 31.33 ไมโครเมตร (เฉลี่ย 29.64 ไมโครเมตร) อัตราส่วนความยาวและความกว้าง 1.41-1.59 ความง่ายในการหลุดจากก้านชูสปอร์ (caducity) พบว่าเป็นแบบ caducus มี pedicel ยาว 14.67 ถึง 16.33 ไมโครเมตร (เฉลี่ย 15.56 ไมโครเมตร) การศึกษาทางพันธุศาสตร์โมเลกุลโดยใช้วิธี Nested polymerase chain reaction (Nested PCR) เลือกใช้ไพรเมอร์ 2 คู่คือ ITS1/ITS4 และ A2/I2 พบว่าทั้ง 3 ไอโซเลตอยู่ในจีนัส Phytophthora หลังยืนยันด้วยการหาลำดับนิวคลีโอไทด์บริเวณ ITS และเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลสร้างแผนภูมิต้นไม้แบบ neighbor joining tree พบว่ามีความคล้ายกับ P. meadii และ Phytophthora colocasiae ซึ่งอยู่ใน clade 2a แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับลักษณะทางสัณฐานวิทยาคาดว่าทั้ง 3 ไอโซเลตเป็นรา P. meadii นอกจากนี้ยังได้ศึกษาการเจริญของรา P. meadii ที่อุณหภูมิต่าง ๆ พบว่าราสามารถเจริญได้ดีที่สุดคืออุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส โดยมีอัตราการเจริญอยู่ที่ 10.99-14.32 มิลลิเมตรต่อวัน และไม่เจริญ ที่อุณหภูมิ 7 และ 37 องศาเซลเซียส การศึกษาความรุนแรงในการก่อโรคโดยวิธี Detached leaf assay ด้วยซูโอสปอร์ พบว่าทั้ง 3 ไอโซเลต สามารถก่อโรคในใบยางพารา