Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของบทบาทการเป็นผู้กระทำ ผู้สังเกต และผู้สังเกตที่สาม ต่อความแม่นยำในการรับรู้การประเมินของผู้อื่นต่อตนเองในเหตุการณ์ที่น่าอับอาย และเปรียบเทียบการรับรู้เหตุการณ์ที่น่าอับอายระหว่างคนที่มีลักษณะการกำกับการแสดงออกของตนสูงและต่ำในบทบาทต่างๆ ผู้ร่วมการทดลองเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรี จำนวน 185 คน การวิจัยเป็นแบบ 3 (บทบาทผู้กระทำ ผู้สังเกต และผู้สังเกตที่สาม ) x 2 (การกำกับการแสดงออกของตนสูงและต่ำ) โดยใช้เหตุการณ์ที่น่าอับอาย 2 เหตุการณ์ ผลการวิจัย 1. บุคคลที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงที่จินตนาการว่ามีบทบาทผู้กระทำ มีคะแนนความประทับใจต่อเหตุการณ์ ในเหตุการณ์งานเลี้ยง น้อยกว่า ผู้ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนต่ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่ไม่แตกต่างกัน ในเหตุการณ์ห้องสมุด และมีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของผู้กระทำไม่แตกต่างกันในทั้ง 2 เหตุการณ์ 2. บุคคลที่จินตนาการว่ามีบทบาทผู้สังเกต ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงและต่ำมีคะแนนความประทับใจต่อเหตุการณ์และคะแนนการประเมินคุณลักษณะ ทั้ง 2 เหตุการณ์ไม่แตกต่างกัน 3. บุคคลที่จินตนาการว่ามีบทบาทผู้สังเกตที่สาม ที่มีการกำกับการแสดงออกของตนสูงและต่ำมีคะแนนความประทับใจต่อเหตุการณ์และคะแนนการประเมินคุณลักษณะ ทั้ง 2 เหตุการณ์ไม่แตกต่างกัน 4. บุคคลที่จินตนาการว่ามีบทบาทผู้กระทำ มีคะแนนความประทับใจต่อเหตุการณ์ห้องสมุด ต่ำกว่า ผู้ที่มีบทบาทผู้สังเกต อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05, เหตุการณ์งานเลี้ยง .001 และมีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของผู้กระทำในเหตุการณ์ห้องสมุดต่ำกว่าที่ระดับนัยสำคัญ .05 แต่ไม่แตกต่างกันในคะแนนการประเมินคุณลักษณะของผู้กระทำในเหตุการณ์งานเลี้ยง 5. บุคคลที่จินตนาการว่ามีบทบาทผู้กระทำ กับ บทบาทผู้สังเกตที่สาม มีคะแนนความประทับใจต่อเหตุการณ์ และคะแนนการประเมินคุณลักษณะของผู้กระทำ ไม่แตกต่างกัน ทั้ง 2 เหตุการณ์ 6. บุคคลที่จินตนาการว่ามีบทบาทผู้สังเกต กับ ผู้สังเกตที่สาม มีคะแนนการประเมินคุณลักษณะของผู้กระทำในเหตุการณ์งานเลี้ยง ไม่แตกต่างกัน แต่มีคะแนนความประทับใจต่อเหตุการณ์ห้อง มากกว่าผู้ที่มีบทบาทผู้สังเกตที่สามมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เหตุการณ์ณ์งานเลี้ยงที่ระดับ .05 และจากคะแนนการประเมินคุณลักษณะของผู้กระทำในเหตุการณ์ห้องสมุดที่ระดับ .05