Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงไห้เห็นว่า การศึกษาเรื่องจีนศึกษาของ เขียน ธีระวิทย์ ได้รับอิทธิพลมาจากสำนักสัจจนิยม โดย เขียน ธีระวิทย์ มีแนวทางในการศึกษาจีนแบบอาณาบริเวณ ซึ่งลักษณะทั้งสองส่วนดังกล่าวนี้ยังมีอิทธิพลต่อการกำหนดจุดยืนหรือมุมมองแนวการวิเคราะห์ตลอดจนบทบาทของ เขียน ธีระวิทย์ ในเรื่องการต่างประเทศอื่น ๆ อีกด้วย ทั้งนี้วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้นำเอาแนวความคิดเรื่องอาณาบริเวณศึกษาและสัจจนิยมมาเป็นกรอบในการวิจัย จากการศึกษาพบว่า ''จีนศึกษา” ในความหมายของ เขียน ธีระวิทย์ คือ การศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ บนจีนแผ่นดินใหญ่เป็นหลัก โดยมีการศึกษาตามแนวทางการศึกษาแบบอาณาบริเวณ นั่นคือการศึกษาสาธารณรัฐประชาชนจีนในหลายแง่หลายมุมอย่างลึกซึ้งโดยอาศัยศาสตร์ของหลายสาขาวิชา เพื่ออธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในบริบทของจีนเอง นอกจากนียังพบว่า ความคิดและมุมมอง ตลอดจนบทบาทต่าง ๆ ของ เขียน ธีระวิทย์ ในเรื่องจีนศึกษาและการต่างประเทศของไทย นอกจากจะได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดเรื่องสัจจนิยม ยังได้รับอิทธิพลมาจากภูมิหลังส่วนตัวบางประการ อันส่งผลให้เกิดการผสมผสานของลักษณะที่เรียกว่าอุดมคตินิยมด้วย กล่าวคือ เขียน ธีระวิทย์มองว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นตัวแสดงหลักหนึ่งในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและมักจะแสดงพฤติกรรมที่มีเหตุผลเพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ อย่างไรก็ตาม แม้ว่า เขียน ธีระวิทย์ ใช้แนวคิดสัจจนิยมในการอธิบายเหตุการณ์ต่าง ๆ แต่ก็มีลักษณะของนักอุดมคตินิยมผสมผสานอยู่ ด้วย นั่นคือ การยึดมั่นในเรื่องที่เห็นว่าเป็นความถูกต้อง ดังนั้น หากพิจารณาโดยรวมอาจกล่าวได้ว่า ความเป็นตัวเองของ เขียน ธีระวิทย์ มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัว และไม่สามารถชี้เฉพาะเจาะจงได้ว่าจัดอยู่ในสำนักคิดใด ซึ่งลักษณะตังกล่าวนี้ประกอบกับความคิดเกี่ยวกับ “จีนศึกษา” ยังได้ส่งผลต่อการกำหนดจุดยืนหรือมุมมองของ เขียน ธีระวิทย์ ในเรื่องการต่างประเทศอื่น ๆ อีกด้วย