DSpace Repository

บทบาทของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญา

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพงษ์ บุญโญภาส
dc.contributor.advisor กุลพล พลวัน
dc.contributor.author วัชรินทร์ ภาณุรัตน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2020-03-28T10:36:11Z
dc.date.available 2020-03-28T10:36:11Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740302084
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64492
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en_US
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับบทบาทของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญา เนื่องจากเห็นว่าการดำเนินคดีอาญาของอัยการที่เป็นอยู่ในปัจจุบันควรพัฒนาให้มีความเป็นกาวะวิสัยให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทของอัยการในระบบสากลด้านการดำเนินคดีอาญาการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทาง กฎหมายรวมทั้งบทบาทด้านการพัฒนากฎหมายให้กำหนดทันสมัยอยู่ตลอดเวลา จากการศึกษาวิจัยพบว่าการดำเนินคดีอาญาของอัยการในประเทศไทยทั้งในอดีตและปัจจุบันส่วนใหญ่ยังมีแนวคิดว่าการยึดหลักเพียงทำหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมาย และระเบียบที่มีอยู่ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว ซึ่งเป็นความคิดที่ได้รับอิทธิพลหรือติดยึดในระบบการดำเนินคดีอาญาแบบกล่าวหา ซึ่งปฏิบัติกันมาช้านาน ทำให้ขาดการทำหน้าที่ค้นหาความจริงในทางคดี และขาดความเป็นภาวะวิสัยในการดำเนินคดี ดังนั้น อัยการในรูปแบบที่พึงประสงค์ อันสอดคล้องกับอัยการในระบบสากลควรพัฒนาให้มีความเป็นภาวะวิสัยยิ่งขึ้น จะต้องอำนวยความยุติธรรม โดยการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นธรรมและรวดเร็วโปร่งใสสามารถตรวจสอบและมีเหตุผลอธิบายทุกขั้นตอน จะต้องมีการปฏิบัติหน้าที่ในเชิงรุก ไม่นิ่งเฉยเพิกเฉย ต้องกล้าหาญในการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เกรงกลัว ไม่ลำเอียงมีอคติใด ๆ ต้องยึดถือในการปฏิบัติหน้าที่โดยเป็นผู้รักษาผลประโยชน์ของรัฐในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ขณะเดียวกันต้องมีหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาหรือจำเลยด้วยโดยไม่ถือว่าเป็นคู่ความกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อย่างไรก็ดีการจะให้อัยการมีความเป็นภาวะวิสัยในบทบาทที่พึงประสงค์อย่างอัยการในระบบสากลได้ต้องปรับปรุเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายและระเบียบการดำเนินคดีอาญาที่เกี่ยวข้อง ควรจัดทำประมวลจริยธรรมของอัยการเพื่อสร้างจิตสำนึกให้อัยการมีความกล้าหาญที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้มีความเป็นภาวะวิสัย อีกทั้ง ต้องดำเนินการฝึกอบรมส่งเสริมให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งที่เป็นความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะด้าน รวมถึงการประชาสัมพันธ์การปฏิบัติหน้าที่ของอัยการ เมื่อมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้อัยการเป็นอัยการในรูปแบบที่พึงประสงค์แล้ว ก็จะทำให้อัยการประเทศไทยมีการดำเนินคดีอาญาอย่างมีภาวะวิสัยสอดคล้องกับระบบอัยการ สากลมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนและรัฐให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
dc.description.abstractalternative This thesis is intended to study on the roles of the Thai public prosecutors in criminal proceedings. It is viewed that the objectivity in criminal proceedings currently conducted by the public prosecutors should be increased in line with the roles of public prosecutors in an international system. Their roles in protection of the civil rights, provision of legal aid to citizens and legal development should also be improved at all times. The findings of the research has revealed that the public prosecutors in pursuing criminal prosecutions, either in the past or at present, still have had the notion that it would be sufficient if they have merely performed their duties in accordance with laws or rules. Such a notion has long been influenced by an accusatorial procedure. This has resulted in the ignorance of searching for the truth and the lack of objectivity in institution of criminal cases. Therefore, the Thai public prosecutors of a desirable type consistent with that in a universal system should be developed to be more objective. The public prosecutors should maintain justice by performing their functions impartially, expeditiously and transparently. Each stage of their functions should be capable of being reviewed and clearly expounded. They should take an active role without apathy and carry out their duties justly and courageously without any fear of intimidation. They should also act as the guardians of the public interest in prevention and suppression of crime. Moreover, they, without considering themselves as parties to the cases, should have duties to protect the rights of an accused or a defendant. Nevertheless, in order for the Thai public prosecutors’ roles to be more objective, the desirable type in line with those of the public prosecutors in the universal system, there should be implementation of the existing laws and the current rules on criminal proceedings concerned. Professional ethics should be coded to raise awareness for the Thai public prosecutors to act bravely and objectively. In additions, not only should they receive training in various fields, i.e. either general or professional knowledge, but also their functions in criminal proceedings should be publicized. With the change of the Thai public prosecutors into those of the ideal type, they, in criminal proceedings, will act with objectivity in the manner exactly consistent with the roles of the public prosecutors in the International system so that the justice could be done most efficiently for the citizens and the nation.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
dc.subject อัยการ
dc.subject Criminal justice, Administration of
dc.subject Public prosecutors
dc.title บทบาทของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีอาญา en_US
dc.title.alternative The role of public prosecutors in criminal proceeding en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record