Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบผลของความใกล้ชิด (ความใกล้ชิดมากและความใกล้ชิดน้อย) และการรับรู้ความรุนแรงของสถานการณ์ (ความรุนแรงมากและความรุนแรง น้อย) ต่อการให้อภัยระหว่างบุคคลทีมความสัมพันธ์ฉันเพื่อน ผู้ร่วมการวิจัยเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี เพศชาย 101 คน และเพศหญิง 139 คน ผู้วิจัยขอให้ผู้ร่วมการวิจัยระลึกถึงคนๆ หนึ่งที่เคยทำให้ตนโกรธเคือง (สถานการณ์โกรธเคือง) หรือเสียใจ (สถานการณ์เสียใจ) ในอดีต จากนั้นให้ตอบมาตรวัดการให้อภัยระหว่างบุคคลแบบรายงานตนเอง Transgression-Related Interpersonal Motivations Inventory (TRIM) ผลการวิจัยพบว่า 1. ทั้งในสถานการณ์ที่ทำให้โกรธเคืองและสถานการณ์ที่ทำให้เสียใจ ความใกล้ชิดในระดับสูงมีการให้อภัยมากกว่าความใกล้ชิดในระดับตํ่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) 2. ทั้งในสถานการณ์ที่ทำให้โกรธเคืองและสถานการณ์ที่ทำให้เสียใจ การรับรู้สถานการณ์ว่ามีความรุนแรงน้อยมีการให้อภัยมากกว่าการรับรู้สถานการณ์ว่ามีความรุนแรงมากอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < .001) 3. สถานการณ์ที่ทำให้เสียใจมีระดับการให้อภัยมากกว่าสถานการณ์ที่ทำให้โกรธเคืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)