Abstract:
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้คือ การแสดงให้เห็นถึงกระบวนการและขั้นตอนในการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ในการกำหนดพื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ประการแรกศึกษาขอบเขตการให้บริการของสวนสาธารณะในปัจจุบันและพื้นที่ที่ขาดแคลน ประการที่สองสร้างแบบจำลองที่เหมาะสมสำหรับการจัดหาพื้นที่ว่างหรือพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อจัดทำสวนสาธารณะระดับต่างๆ และประการสุดท้ายใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์วิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาเป็นสวนสาธารณะให้เพียงพอ และตรงตามมาตรฐานสากล ด้วยเทคนิคการวางซ้อน และการให้ค่านํ้าหนักกับตัวแปรเชิงพื้นที่จำนวน Q ตัวแปร จากผลการวิจัยพบว่า สวนสาธารณะระดับเมือง(City Park) มีขอบเขตการให้บริการเฉลี่ย 13.78 กิโลเมตร ในขณะที่สวนสาธารณะระดับย่าน (City park) มีขอบเขตการให้บริการเฉลี่ย 13.06 กิโลเมตร สัดส่วนพื้นที่สวนสาธารณะต่อประชากรได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.96 ตารางเมตรต่อคน เขตที่มีสวนสาธารณะอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 2 ตารางเมตรต่อคนมีเพียง 7 เขตเท่านั้น เทคนิคการวางซ้อนถูกนำมาใช้ในการหาพื้นที่ที่มีศักยภาพสำหรับพัฒนาเป็นสวนสาธารณะระดับย่าน และระดับเมืองได้จำนวน 6,359.004 ไร่ และเมื่อรวมกับพื้นที่สวนสาธารณะที่มีอยู่เดิมจะมีพื้นที่รวมเท่ากับ 9,745.969 ไร่ หรือคิดเป็น 2.71 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน เพื่อให้ตรงตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้ในปี พ.ศ.2548 พื้นที่สวนสาธารณะจะต้องมีสัดส่วนอย่างน้อย 2 ตารางเมตรต่อประชากร 1 คน แบบจำลองนี้ยังสามารถจัดลำดับความเหมาะสมของพื้นที่ออกเป็น 3 ลำดับ และช่วยให้การวางแผนการพัฒนาสวนสาธารณะสามารถทำได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น