Abstract:
งานวิจัยนี้ต้องการระบุชนิดของราไฟทอฟธอราที่เกี่ยวข้องกับโรคใบร่วงและโรคเส้นดำของยางพาราในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาและอณูวิทยาด้วยยีนบริเวณ ITS ของไฟทอฟธอรา 4 ไอโซเลท คือ L112-2, L116-1, L116-4 และ L62B-1 พบว่าทุกไอโซเลทเป็น heterothallic และ non-caducous ซึ่งไอโซเลท L112-2, L116-1 และ L116-4 มีลักษณะสปอร์แรงเจียมแบบ obpyriform, ovoid, obturbinate และ reniform มีรูปแบบของโคโลนีแบบ stellate อีกทั้งยังมี papilla ขนาดของสปอร์แรงเจียมยาว 40.8-49.7 ไมโครเมตร กว้าง 29.9-33.7 ไมโครเมตร และอัตราส่วนระหว่างความยาวต่อความกว้างเฉลี่ย 1.36-1.47 ในขณะที่ไอโซเลท L62B-1 มีลักษณะสปอร์แรงเจียมแบบ obpyriform, ovoid, obturbinate และ reniform มีโคโลนีแบบ radiation และมี papillate ขนาดของสปอร์แรงเจียมกว้างเฉลี่ย 17.3 ไมโครเมตร ยาว 26.4 ไมโครเมตร และอัตราส่วนระหว่างความยาวต่อความกว้าง 1.53 จากลำดับของสารพันธุกรรมบริเวณ ITS พบว่า ทุกไอโซเลทอยู่ใน clade 2a โดยไอโซเลท L112-2 มีความคล้ายกับ P. citrophthora เช่นเดียวกับไอโซเลท L116-1 และ L116-4 ส่วนไอโซเลท L62B-1 มีความคล้ายกับ Phytophthora botryosa โดยงานวิจัยนี้เป็นรายงานการค้นพบ P. citrophthora ก่อโรคในต้นยางพาราในภาคตะวันออกของประเทศไทยเป็นครั้งแรก