Abstract:
งานวิจัยนี้ศึกษากลวิธีการกลบเกลื่อนในการสนทนาเรื่องเพศของคนไทย ในปริจเฉท การสนทนาแบบสาธารณะ โดยใช้ข้อมูลปริจเฉทที่ต่างกัน 4 สถานการณ์ คือ ปริจเฉทในรายการทาง โทรทัศน์ รายการวิทยุ คอลัมน์ถาม-ตอบในหนังสือพิมพ์ และ กระดานสนทนาในอินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่ามีกลไกภาษา 3 กลไกที่ใช้ในการกลบเกลื่อน คือการแทนที่รูปภาษา การละ รูปภาษาและการเพิ่มรูปภาษา ซึ่งใช้รูปแบบภาษาทั้งหมด 39 แบบ และสามารถจำแนกได้ตามแนวคิด ของบราว์นและเลวินลันได้ 4 ประเภท โดยรูปแบบภาษา 19 แบบ เป็นการกลบเกลื่อนที่ละเมิดเงื่อนไข เชิงคุณภาพ ,16 แบบละเมิดเงื่อนไขเชิงรูปแบบ ,3 แบบละเมิดเงื่อนไขเชิงปริมาณ และอีก 1 แบบ ละเมิดเงื่อนไขเชิงความลอดคล้อง นอกจากนี้ยังพบว่า ความถี่ในการใช้รูปแบบภาษาแบบต่างๆ จะแตกต่าง กันตามสถานการณ์ปริจเฉท โดยรูปแบบภาษาที่เป็นคำรื่นหูประเภทต่างๆ ประโยคแสดงการสมมติ สถานการณ์ และคำกริยานุเคราะห์บอกอรรถานุเคราะห์ มีการใช้ในความถี่ที่สูงในทุกสถานการณ์ปริจเฉท จากจำนวนคำทั้งหมดในข้อมูลปริจเฉทการสนทนา พบว่า มีอัตราการกลบเกลื่อนประมาณ ร้อยละ 3.87 การศึกษาแต่ละสถานการณ์ พบว่า ปริจเฉทการสนทนาในโทรทัศน์จะมีอัตราการกลบเกลื่อน สูงสุด (ร้อยละ5.01) และจากสมมติฐานที,ว่าปริจเฉทการสนทนาในอินเทอร์เน็ต จะมีอัตราการ กลบเกลื่อนตํ่าลุดนั้น งานวิจัยนี้ พบว่า ปริจเฉทในอินเทอร์เน็ตมีอัตราการกลบเกลื่อนสูงเป็นอันดับที่ 2 (ร้อยละ 4.13) อันดับที่ 3 คือ ปริจเฉทในรายการวิทยุ (ร้อยละ 3.42) และ ปริจเฉทในคอลัมน์ถามตอบในหนังสือพิมพ์ มีอัตราการกลบเกลื่อนตํ่าสุด (ร้อยละ 3.36) ผลการศึกษาเชิงคุณ ภาพซองการกลบเกลื่อนในงานวิจัยนี้ พบว่า ปัจจัยปริจเฉทมีบทบาท สำคัญต่อการใช้การกลบเกลื่อน โดยผู้ร่วมสนทนาที่เห็นหน้ากันมีการกลบเกลื่อนมากกว่าผู้ร่วมสนทนาที่ไม่เห็นหน้ากัน อย่างไรก็ตาม จากสมมติฐานที่ว่า ผู้ร่วมสนทนาที่มีความสัมพันธ์เป็นแบบห่างจะมีการกลบเกลื่อนมากกว่าแบบใกล้ชิด งานวิจัยนี้ พบว่า ผู้ร่วมสนทนาที่มีความสัมพันธ์เป็นแบบใกล้ชิดจะมีการกลบเกลื่อนมากกว่า