Abstract:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแบบจำลองแคมเจม (CAMGEM: Chulalongkorn and Monash Universities General Equilibrium Model) ซึ่งเป็นแบบจำลองดุลยภาพทั่วไป (Computable General Equilibrium: CGE) เชิงสถิตย์ของเศรษฐกิจไทยให้เป็นแบบจำลองเซิงพลวัตแบบ intertemporal โดยการพัฒนาพฤติกรรมการลงทุนภายในแบบจำลอง ผู้ลงทุนมีความลามารถในการคาดการณ์ผลตอบแทนการลงทุนในอนาคตในช่วงตั้งแต่การคาดการณ์อย่างคงที่จนถึงการคาดการณ์อย่างสมบูรณ์ การหาผลตอบของแบบจำลองใช้วิธีการสร้างผลตอบตั้งต้น (initial solution) จากข้อมูลปีฐานในปีเดียว แล้วทำการปรับปรุงข้อมูลให้เช้ากับสภาพดุลยภาพของแบบจำลอง และสร้างภาพฉายของระบบเศรษฐกิจในช่วงเวลาของการวิเคราะห์ การตรวจสอบความถูกต้องของการพัฒนาแบบจำลองกระทำโดยการนำแบบจำลองมาทำซิมิวเลชั่นเพื่อหาผลกระทบของนโยบายตัวอย่างที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและสาขาการผลิตต่าง ๆ ของไทย โดยได้สมมตินโยบายตัวอย่างขึ้นมา 2 นโยบายคือ นโยบายการเพิ่มรายจ่ายจริงของภาครัฐ 10% และนโยบายการลดค่าเงินบาท 10% ข้อมูลที่ใช้คือข้อมูลตารางปัจจัยการผลิต-ผลผลิตของประเทศไทยปี พ.ศ.2538 ผลที่ได้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างผลกระทบในระยะสั้นและระยะยาว ลักษณะการปรับตัวของระบบเศรษฐกิจจากระยะสั้นไปสู่ระยะยาว และความแตกต่างของผลกระทบระหว่างกรณีที่ผู้ลงทุนคาดการณ์อย่างคงที่และคาดการณ์อย่างสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามในระยะยาวแล้วลักษณะการคาดการณ์ของผู้ลงทุนไม่มีผลในการเปลี่ยนแปลงลักษณะผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ ระยะเวลาในการปรับตัวเข้าสู่สภาวะคงตัวของระบบเศรษฐกิจขึ้นอยู่กับตัวแปรที่สำคัญคือ ความไวในการปรับระดับการลงทุนของผู้ลงทุน แบบจำลองแคมเจม intertemporal ลามารถนำไปใช้ในการประเมินผลกระทบของนโยบายเศรษฐกิจที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและสาขาการผลิตของไทยในขอบเขตที่กว้างขวางกว่าแบบจำลองแคมเจมเดิม