Abstract:
ศึกษาการใช้ pin รูปตัว U เสริมสันปลายกระดูกต้นขาหลัง เพื่อแก้ไขละบ้าเคลื่อนในสุนัข 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นสุนัขทดลองที่ตัด medial trochlear ridge ออกเพื่อไม่ให้มีสันเหมือนสุนัขป่วยที่มี patellar luxation จำนวน 6 ตัว กลุ่มที่สองเป็นสุนัขป่วยที่มีสะบ้าเคลื่อน ระดับ 1 หรือ 2 จำนวน 10 ตัวที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลสัตว์เล็ก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างเดือน สิงหาคมและพฤศจิกายน 2544 การประเมินผลในกลุ่มสุนัขทดลองพิจารณาจาก ผลการตรวจคลำ patella ภายหลังการผ่าตัด การใช้ขาข้างที่ผ่าตัดรับนํ้าหนัก การเดินของสุนัข การตรวจลักษณะผิวของ articular cartilage ของ patella และการตรวจทางจุลพยาธิวิทยาของเนื้อเยื่อที่เจริญเข้าแทนที่บริเวณที่ตัด trochlear ridge ที่ 4, 8, 12 และ 16 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัด จากการตรวจคลำ ข้อเข่าของสุนัขทดลองพบว่า patella ของสุนัขทุกตัวยังคงอยู่ในร่อง trochlear sulcus สุนัขส่วนใหญ่ใช้ขาข้างที่ผ่าตัดรับนํ้าหนักได้ดีและเดินได้ดีตั้งแต่ 4 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัด การตรวจลักษณะผิวของ articular cartilage ของ patella ได้แบ่งสุนัขทดลองออกเป็นสองกลุ่มย่อย กลุ่มแรกใช้ศึกษาผิวของ articular cartilage ที่ 4 และ 12 สัปดาห์หลังผ่าตัด กลุ่มที่สองใช้ศึกษาที่ 8 และ 16 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัด พบว่าผิว articular cartilage ของ patella ที่ 4, 8, 12, 16 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัดมีลักษณะปกติ การตรวจทางจุลกายวิภาคของเนื้อเยื่อที่เจริญเข้ามาแทนที่บริเวณที่ตัด trochlear ridge ที่ 12 และ 16 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัด พบว่าประกอบด้วย fibrocartilage และ fibrous tissue ในกลุ่มสุนัขป่วยจำนวน 10 ตัวที่เข้ารับการแก้ไขสะบ้าเคลื่อนมี 1 ตัวได้รับการแก้ไขสะบ้าเคลื่อน 2 ข้าง จึงมีข้อเข่ารวม 11 ข้อ การประเมินผลพิจารณาจากผลการตรวจคลำ patella และการใช้ขาข้างที่ผ่าตัดรับนํ้าหนักและท่าทางการเดินที่ 4, 8, 12 และ 16 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัดพบว่าข้อเข่า 4 ข้อกลับมีสะบ้าเคลื่อนอีกภายหลังผ่าตัด ในขณะที่ patella ใน 7 ข้อเข่ายังอยู่ในตำแหน่งปกติ สุนัขใช้ขารับนํ้าหนักได้เป็นปกติ สุนัขป่วยเริ่มเดินได้ดีตั้งแต่ที่ 4 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัดจำนวน 2 เข่า และที่ 8 สัปดาห์จำนวน 7 เข่า