Abstract:
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ที่มีบทบาททางเพศแตกต่างกันจะมีพฤติกรรมการเผชิญกับปัญหาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. ผู้ที่มีบทบาททางเพศแบบมีความเป็นชายสูงลักษณะเดียว มีพฤติกรรมการเผชิญกับปัญหาแบบการเผชิญหน้ากับปัญหาตํ่ากว่าผู้ที่มีบทบาททางเพศแบบมีความเป็นหญิงและความเป็นชายตํ่าทั้งคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. ผู้ที่มีบทบาททางเพศแบบมีความเป็นหญิงและความเป็นชายสูงทั้งคู่มีพฤติกรรมการเผชิญกับปัญหาแบบการถอยห่างตํ่ากว่าผู้ที่มีบทบาททางเพศแบบมีความเป็นหญิงสูงลักษณะเดียวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4. ผู้ที่มีบทบาททางเพศแบบมีความเป็นหญิงและความเป็นชายสูงทั้งคู่ และแบบมีความเป็นชายสูงลักษณะเดียว มีพฤติกรรมการเผชิญกับปัญหาแบบการหลีกหนี - หลีกเลี่ยงปัญหาสูงกว่าผู้ที่มีบทบาททางเพศแบบมีความเป็นหญิงและความเป็นชายตํ่าทั้งคู่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5. ผู้ที่มีบทบาททางเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเผชิญกับปัญหาแบบการควบคุมตนเอง การแสวงหาการเกื้อหนุนทางสังคม การรับผิดชอบต่อปัญหา การวางแผนแก้ปัญหา และการประเมินค่าใหม่ทางบวกไม่แตกต่างกัน 6. ผู้ที่มีบทบาททางเพศแบบมีความเป็นหญิงและความเป็นชายสูงทั้งคู่ แบบมีความเป็นชายสูงลักษณะเดียว แบบมีความเป็นหญิงสูงลักษณะเดียว มีพฤติกรรมการเผชิญกับปัญหาแบบการเผชิญหน้ากับปัญหาตํ่ากว่าพฤติกรรมการเผชิญกับปัญหาแบบการหลีกหนี - หลีกเลี่ยงปัญหา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 7. ผู้ที่มีบทบาททางเพศแบบมีความเป็นหญิงและความเป็นชายตํ่าทั้งคู่ มีพฤติกรรมการเผชิญกับปัญหาแบบการเผชิญหน้ากับปัญหาไม่แตกต่างจากพฤติกรรมการเผชิญกับปัญหาแบบการหลีกหนี-หลีกเลี่ยงปัญหา