Abstract:
พลาสติกเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้แทนวัสดุธรรมชาติ และใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั่วโลก พลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเรตพบเห็นได้มากในชีวิตประจำวัน เช่น ขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดบรรจุน้ำอัดลม ในแต่ละปีมีอัตราการผลิตและใช้พลาสติกชนิดนี้สูงมาก หลังจากการใช้พลาสติกเหล่านี้ถูกทิ้งและสะสมในสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันมีการค้นพบแบคทีเรีย Ideonella sakaiensis ที่สามารถผลิตเอนไซม์ PETase เพื่อย่อยสลายพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเรต เป็นแหล่งคาร์บอนเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตได้ โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะคัดแยกแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเรตได้ จากผลการทดลองสามารถคัดแยกแบคทีเรียได้ 8 ไอโซเลทและนำไปวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ 165 rDNA และเมื่อนำไอโซเลทดังกล่าวมาเลี้ยงร่วมกับพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเรตเป็นเวลา 7 วัน จากนั้นนำพลาสติกดังกล่าวไปวิเคราะห์โดยอาศัยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscope, SEM) พบว่ามีเพียง 3 ไอโซเลท คือ S3, S4 และ S7 ที่สามารถสังเกตเห็นผิวของพลาสติกดังกล่าวมีร่องรอยการถูกย่อยสลายเมื่อเทียบกับชุดพลาสติกควบคุม ซึ่งแบคทีเรีย 3 ไอโซเลทนั้น พบว่า S3 และ S4 มีความใกล้เคียงกับ Pseudogulbenkiania sp. NS25 และ S7 มีความใกล้เคียงกับ Nocardioides panaciterrae.