DSpace Repository

แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุวัฒนา ธาดานิติ
dc.contributor.author สุพัตรา วิชยประเสริฐกุล, 2520-
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
dc.coverage.spatial เกาะเกร็ด (นนทบุรี)
dc.date.accessioned 2020-04-02T19:48:40Z
dc.date.available 2020-04-02T19:48:40Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.issn 9741720173
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64598
dc.description วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en_US
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป การเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงการวิเคราะห์เอกลักษณ์และคุณค่าของเกาะเกร็ด สถานการณ์การท่องเที่ยวและผลกระทบจากการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อเสนอแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะเกร็ด ทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในหมู่ 1, 6 และ 7 ซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญ และประกอบอาชีพ การทำเครื่องปันดินเผา จากการเข้ามาของการท่องเที่ยวทำให้เกิดผลกระทบ ทั่งด้านบวกและลบต่อเกาะเกร็ด โดยส่งผลให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ แต่การกระจายรายได้ไม่ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน ไม่สามารถป้องกันการอพยพย้ายถิ่นออก รวมถึงทำให้วิถีชีวิตและค่านิยมของชุมชนเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ต่างจากเดิม อย่างไรก็ตามการท่องเที่ยวได้สร้างความเจริญแก่เกาะเกร็ด ช่วยฟื้นฟูสืบทอดประเพณี และวัฒนธรรม การปรับปรุงและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อศึกษาถึงผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของเกาะเกร็ด พบว่า เครื่องปั้นดินเผาทั้งในรูปที่เป็นตัวชุมชน และในรูปของผลิตภัณฑ์ ได้รับผลกระทบมากที่สุดทั้งทางบวกและทางลบ เมื่อผลกระทบทางลบจากการท่องเที่ยวมารวมกับปัญหาที่ประสบอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำท่วม ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ จึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการจัดการและพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการป้องกัน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของเกาะเกร็ด ดังนั้นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะเกร็ด มีดังนี้ 1. แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม หรือจัดสร้างขึ้นมาใหม่ 2. แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ ถนน ท่าเรือ การดูแลรักษาความสะอาด รวมถึงการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นในอนาคต 3. แนวทางการส่งเสริมด้านการตลาดการท่องเที่ยวทั้งการประชาสัมพันธ์ รวมถึงการจัดการด้านมาตรฐานราคาสินค้าและบริการ 4. แนวทางเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ร่วมมือกัน เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว 5. แนวทางการจัดองค์กรบริหารการท่องเที่ยว รวมถึงเสนอให้จัดตั้งกลุ่มเพื่อเกาะเกร็ด เพื่อเข้ามาบริหารและจัดการการท่องเที่ยวของเกาะเกร็ดโดยตรง และเสนอออกมาเป็นเส้นทางการเดินทางท่องเที่ยวแบบใหม่ให้เกิดการกระจายนักท่องเที่ยว รวมถึงเกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง และต่อเนื่องในขณะที่ยังคงรักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์และคุณค่าของเกาะเกร็ด ตามหลักการของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to understand the general conditions and changes of the physical, social and economic characteristics of Koh Kret (Kret Island), and to analyze the identity and its value. This research also studies the tourism situation and impacts of tourism development in order to propose guidelines for sustainable tourism development of this area. At present, most of the popular tourism resources are in Moo.1, 6 and 7 which are the sites for the Mon community and the place for pottery handicraft. Many tourists have both positive and negative impacts on Koh Kret, such as the increase of employment and expanding income, but these do not distribute to every people. Therefore many people have to migrate out and change their way of life. However tourism does make prosperity to Koh Kret such as renewal the cultural traditions by preservation and development of the environment. The findings from the study of the effect of tourism reveal that the community and the pottery product were effected in both positive and negative ways. There are also negative impacts from flood, addiction, etc. that trouble the community. Therefore we have to solve this problem while we also develop tourism in order to help and protect other communities with similar problems to Koh Kret. The way to sustain tourism development of Koh Kret are recommended as follows: 1. Develop both of present and new tourism areas. 2. Develop the infrastructure such as roads, piers, cleanness and also providing other facilities in the future. 3. Promote tourism and manage the standardization of products and service. 4. Encourage the participation of local people. 5. Set up a local organization to offer new tourism direction of Koh Kret. This research also suggests to limit the amount of tourists and continuously create income for the local people while Koh Kret's environment can be preserved according to the sustainable tourism developing principles.
dc.language.iso th en_US
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.111
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.subject การพัฒนาแบบยั่งยืน en_US
dc.subject การท่องเที่ยว en_US
dc.subject การท่องเที่ยวกับผังเมือง en_US
dc.subject เกาะเกร็ด (นนทบุรี) -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว en_US
dc.subject Sustainable development en_US
dc.subject Travel en_US
dc.subject Tourism and city planning en_US
dc.subject Koh Kret (Nonthaburi) -- Description and travel en_US
dc.title แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี en_US
dc.title.alternative Guidelines for sustainable tourism development of Koh Kret, Nonthaburi Province en_US
dc.type Thesis en_US
dc.degree.name การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต en_US
dc.degree.level ปริญญาโท en_US
dc.degree.discipline การวางผังเมือง en_US
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en_US
dc.email.advisor Suwattana.T@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2002.111


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record